วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อันตรายจากโรคหัวใจ แน่นหน้าอก เหงื่อยง่าย ต้องอ่าน

โรคหัวใจ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Heart Disease" เป็นสาเหตุการตายของที่สูงมากในหลายๆประเทศโดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก ซึ่งโรคหัวใจหรือหัวใจหายหรือหัวใจล้มเหลวนั้นหมายถึงการทำงานของหัวใจไม่เป็นไปอย่างปกติหรือหยุดทำงาน ซึ่งหัวใจของคนปกติจะมีการบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ถ้าเราไม่ดูแลร่างกายของตัวเองก็จะทำให้การทำงานของหัวใจเสื่อมลงซึ่งหรือหยุดลงเลยแพทย์ต้องทำการปั้มหัวใจขึ้นมาใหม่ วันนี้ herb-health.com จะพาไปทำความรู้จักโรคหัวใจซึ่งเป็นโรคที่พบมากในประเทศแถบยุโรปและตะวันตก

การทำงานของหัวใจ

ภาพการทำงานของหัวใจ ห้องหัวใจบนขวาคือดด้านซ็ายมือของท่านครับ

การทำงานของหัวใจจะเริ่มจากการรับเลือดดำจากร่างกายเข้าสู่ห้องหัวใจบนขวา ไหลไปยังห้องหัวใจล่างขวาและหัวใจห้องล่างขวาจะส่งเลือดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือดดำให้กลับเป็นเลือดแดง เลือดที่ฟอกเสร็จแล้วจะไหลกลับมายังหัวใจบนซ้ายและไหลไปยังห้องล่างซาย ห้องหัวใจห้องล้างซ็ายจะทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงยังส่วนต่างของร่างกาย ซึ่งหัวใจแต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจทำการเปิดปิดเลือด

ชนิดของโรคหัวใจเราสามารถแบ่งชนิดของโรคหัวใจได้ดังนี้
โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือได้รับสารคมีบางชนิดในระหว่างการตั้งครรภ์อ่อนๆ มีผลทำให้เกิดความผิดปกติกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น เหลือดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องส่วนต่างๆของหัวใจ บางคนเมื่อเกิดมาจะยังไม่มีอาการอาจจะมีอาการเมื่ออายุมากๆ ซึ่งสามารถรักษาโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดได้ด้วยการผ่าตัด

โรคลิ้นหัวใจรั่ว อาจเป็นได้ตั้งแต่กำเนิดหรือมาเป็นทีหลังก็ได้ซึ่งโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อที่คออักเสบและไม่ได้รับการักษาอย่างถูกวิธี มีผลทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นสาเหตุให้ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหนากว่าปกติซึ่งสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจมาจากภาวะความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษามานาน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตีบ ตัน การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจจะใช้วิธีผ่าตัดบายพาสหรือขยายหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ คือหลอดเลือดหัวใจที่จะนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจผิดปกติ (กล้ามเนื้อหัวใจก็ต้องมีเลือดมาเลี้ยง) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเกิดการทำงานผิดปกติ เกิดจากไขมันสะสมที่หลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตัน

โรคเยื้อหุ้มหัวใจ เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่จากอาการป่วยวัณโรคโดยสามามารรักษาให้หายได้ ผู้เป็นโรคเยื้อหุ้มหัวใจจะพบได้น้อยมากๆ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการเต้นของหัวใจช้าเกินไปหรือเต้นเร็วเกินไป ซึ่งผลมาจากการสัญญาณไฟฟ้าในห้องหัวใจผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดอาการวิงเวียง หน้ามือตาลาย หายใจขัด แน่นหน้าอก หรือเป็นลมหมดสติได้ควรไปพบแพทย์ โรคนี้มีทั้งแบบอันตรายมากๆและแบบที่ไม่เป็นอันตราย

โรคลิ้นหัวใจโตคืออะไร เป็นโรคที่เกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจทำให้หัวใจโต ซึ่งสาเหตุอื่นๆที่ำทำให้ลิ้นหัวใจโตก็เป็นประเภทของโรคหัวใจทั้งหมดตามข้อมูลด้านบนเป็นสาเหตุทำให้หัวใจโต พูดง่ายๆก็คือโรคหัวใจโตคือโรคที่เกิดจากการผิดปกติของหัวใจต่างๆที่ทำให้อวัยวะของหัวใจอักเสบและโตขึ้นได้

อาการโรคหัวใจ

อาการโรคหัวใจเป็นหอบ
อาการต่างๆต่อไปนี้มีโอกาสที่เกิดจากโรคหัวใจหากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
หอบ คนที่มีอาการหอบ เหนื่อง่าย หายใจเร็ว บางรายจะนอนราบไม่ได้เพราะนอนแล้วจะเหนื่อยยิ่งกว่าเดิมต้องนั่งหลับหรือนอนในลักษณะที่ศรีษะอยู่สูง
เหนือยหมดแรง แม้ตอนในขณะที่พูดก็ยังรู้สึกเหนื่อยมีอาการมือและเท้าเย็นชา
หัวใจเต้นผิดปกติ หรือทีเรียกว่าอาการใจสั่นเกิดจากหัวใจเต้นเร็วบ้างเต้นช้าบ้าง มีอัตราการเต้นไม่ปกติซึ่งในบางรายอาจจะไม่ได้เกิดจากหัวใจทำงานผิดปกติแต่อาจจะเกิดจากโรคอื่นๆเช่น ไทยรอย์เป็นพิษ หรือ โรคปอด
ขาบวม เกิดหัวด้านขวาที่รับเลือดเข้ามาฟอกทำงานได้ไม่ปกติรับเลือดได้ช้าลงทำให้เลือดค้างที่ขา (เลือดเก่าหรือเลือดดำ) ทำให้เกิดอากาขาปวดเพราะเลือดคั่งอยู่ที่ขามากขึ้น
วูบหรือหมดสติ เป็นอาการเป็นลมชั่วขณะ หน้ามืด มองเห็นไม่ชัดเป็นเวลาครู่หนึ่ง หน้ามืด วิงเวียนศรีษะ อาจจะเกิดจากการเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือหยุดเต้นชั่วขณะ อาการวูบนี้อาจจะเกิดจากการผิดปกติของสมองได้เช่นกัน

วิธีรักษาโรคหัวใจ

วิธีรักษาโรคหัวใจด้วยการผ่าตัด by pass หัวใจ
เมื่อเข้าตรวจอาการโรคหัวใจอย่างละเอียดแล้วแพทย์ประเมินความรุนแรงของโรคและจะเลือดวิธีรักษาโรคหัวใจให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด โดยมีวิธต่างๆดังนี้
1. การใช้ยาขยายหลอดเลือด ในกรณีลอดเลือดหัวใจตีบตัน
2. การใช้ยาสะลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดแข็งตัว เช่น แอสไพริน
3. การใช้ยาลดการบีบตัวของหัวใจ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ
4. การผ่าตัดทำบายพาส ทำบอลลูน ตามความเหมาะสมของอาการ

การปฏิบัติวของผู้ป่วยเพื่อการรักษาโรคหัวใจให้หายดียิ่งขึ้น
-รับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์สั่ง
-กินอาหารที่มีประโ่ยชน์เน้นผักและผลไม้ ดื้มน้ำเยอะๆ
-อย่ากินอาหารมากเกินไปให้กินพออิ่ม
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่อย่าออกหนักมาก เน้นการเดินและเพิ่มระยะทางขึ้นเรื่อยๆ
-งดอาหารที่มีไขมัน อาหารหวาน
-งดสุรา บุหรี่ และกาแฟซึ่งจะทำให้หัวใจเต้นเร็วยิ่งขึ้น
-สังเกตุอาการของตัวเองเมื่อมีอการเหนื่อยหอบให้หยุดกิจกรรมนั้นๆ

อัตรายจากโรคหัวใจระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
เพศชายจะมีอัตราความเสี่ยงของการล้มเหลวของหัวใจมากกว่าเพศหญิง เพราะการมีเพศสัมพันธุ์ต้องขยับเคลื่อนไหวร่างกายทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น และอาจจะมีผลให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือบางรายอาจจะหยุดเต้นจนถึงชั้นเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่อยากมีเพศสัมพันธ์ควรจะอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์และไม่ควรหักโหมหรือมีเพศสัมพันธ์นานเกินไป

การป้องกันโรคหัวใจ

-งดอาหารมัน อาหารหวาน หรือทานให้น้อยที่สุด
-ควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วนหรือน้ำหนักตัวมากเกินไป
-ออกกำลังกายอยา่งน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
-พักผ่อนให้เพียงพออย่าโหมงานหนัก
-ผู้ที่มีประวัติญาติเป็นโรคหัวใจควรตรวจเช็คสุขภาพ
-ตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

วิธีตรวจโรคหัวใจมีหลายวิธีดังนี้

วิธีตรวจโรคหัวใจแบบ Echocardiogram
วิธีตรวจโรคหัวใจแบบ Tilt Table Test

-ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG เพื่อตรวจดูว่าจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติรหือไม่วิธีนี้ไม่เจ็บตัว
-เอกซเรย์ปอด ถ้าหากหัวใจทำงานล้มเหลวจะมีน้ำคั่งในปอดเนื่องจากหัวใจและปอดทำงานสัมพันธ์กัน การเอกซเรย์ปอดจะสามารถเช็คได้ว่าหัวใจทำงานปกติหรือไม่
-ตรวจเลือด วิธีตรวจโรคหัวใจแบบนี้จะบอกได้ในกรณีที่กล้ามเนื้อหัวใจตายแล้วเท่านั้น มีข้อดีคือได้ตรวจโรคอื่นๆไปด้วยเช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
-อัลตราซาวน์หัวใจ Echocardiogram วิธนี้สามารถเห็นการทำงานของลิ้นหัวใจได้เป็นอย่างดี
-Tilt Table Test เป็นวิธีตรวจโรคหัวใจโดยให้คนไข้นอนบนเตียงปรับระดับเหมาะสำหรับคนที่มีอาการวูบ เป็นลม มาก่อน
-Cath & Angiogram การฉีดสี เป็นวิธีการฉีดสีเพื่อดูหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเป็นวิะีที่นิยมแพร่หลาย