วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ความรู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะอย่างละเอียดที่สุด

โรคกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ที่เรารู้จักในชื่อที่แตกต่างกันเป็นโรคเดียวกันโดยจะเรียกอย่างสั้นว่า "โรคกระเพาะ" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Gastritis" ซึ่งเป็นโรคที่คนไทยในปัจจุบันเป็นกันเยอะมากโดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตรงเวลา herb-health.com จะพาไปทำความรู้จักกับโรคกระเพาะอย่างละเอียดพร้อมหาวิธีป้องกันและรักษา รวมถึงไปรู้จักว่าโรคนี้มีอัตรายอย่างแรงอย่างไรกันบ้าง

โรคกระเพาะอาหารคือ

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร คือ อาการที่กระเพาะอาหารภายในร่างกายเกิดอาการอักเสบ บวม แดง ของเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะ ซึ่งในบางรายอาจจะมีแผลในกระเพาะเกิดขึ้นในกระเพาะอาหารได้เลย โรคกระเพาะอาหารยังรวมถึงความผิดปกติในส่วนต่างของระบบทางเดินทาหารส่วนอื่นๆไม่วาจะเป็น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หรือถึงน้ำดี

อาการโรคกระเพาะ

อาการของโรคกระเพาะ ปวดหรือเจ็บบริเวณลิ้นปี่

อาการของโรคกระเพาะมีแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร
สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่และแน่นหน้าอกซึ่งในบางรายอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สำหรับรายที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบหนักๆจะอาเจียนออกมาเป็นเลือดและมีการถ่ายอุจาระสีดำ ซึ่งหากไม่รักษาในช่วงเบื้อต้นและปล่อยทิ้งไว้จะเป็นโรคกระเพาะเรื้อรังอาจจะทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารบางรายเป็นหนักถึงขั้นกระเพาะทะลุได้ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบมีหลายปัจจัยมาก โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไรนั้นมีสาเหตุดังนี้
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารเกิดจากการใช้ยาในกลุ่มแอสไพรินอย่างต่อเนื่อง

-การใช้ยาบางชนิด สำหรับคนที่ใช้ยาต้านการอักเสบบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน สเตียรอยด์ ไพร็อกซิแคม ฯลฯ ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้เป็นเวลานานๆจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะและหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะเป็นหนักถึงขั้นกระเพาะเป็นแผลมีเลือดออกอักเสบ
-การติดเชื้อ H Pylori (เอชไพโลไร) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถติดต่อผ่านการกินอาหารหรือน้ำดื่มปนเปื้อนเชื้อจากอุจาระของผู้ป่วย เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปแล้วจะไปฝังตัวอยู่ในเยื่อบุของกระเพาะอาหาร ซึ่งเชื้อ H Pylori จะทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังเป็นปีในบางหลายอาจจะนานหลายปี
-แอลกอฮอล์ สำรหรับคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากๆโดยไม่รับประทานอาหารจะทำให้ ปริมาณแอลกอฮอล์ในกระเพาะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบได้การดื่มแอลกอฮอล์ยังมีผลทำให้การรักษาแผลในกระเพาะอาหารทำได้ช้าด้วย
-การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาจะทำให้กรดที่กระเพาะปล่อยออกมาไปทำปฏิกิริยากับเยื้อบุกระเพาะอาหารแทน
-การสูบบุหรี่จะทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้า
-ความเครียดจะมีผลให้มีกรดในกระอาหารมากและทำให้เราเบื่ออาหารทานข้าวไม่ลง ในบางรายที่เครียดมากๆอาจจะมีอาการคลื่นไส้ด้วย
-กินอาหารเปรี้ยวจัดหรืออาหารมักดองเพราะอาจจะทำให้เกิดการปวดท้อง หรือติดเชื้อ จากอาหารหมักดองที่ไม่สะอาดได้
-โรคใกล้เคียงกับกระเพาะอาหาร เช่น โรคถุึงน้ำดีไหลเข้าสูกระเพาะอาหารซึ่ง น้ำดีจะทำให้เกิดการระคายเคืองกับเยื้อบุกระเพาะอาหารได้
**สาเหตุเหล่านี้หากไม่รักษาโรคกระเพาะอาหารตั้งแต่เนิ่นจะทำให้เป็นโรคกระเพาะเรื้อรังซึ่งอาจจะทำให้เกิดแผลทะลุในกระเพาะอาหารได้

วิธีรักษาโรคกระเพาะ

สำหรับแนวทางในการรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้นแพทย์จะรักษาตามอาการและสาเหตุที่เป็น หากเป็ฯเพราะติดเชื้อจากแบคทีเรียก็จะให้ยาปฏิชีวนะ โดยส่วนมากมีวิธีรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบดังนี้
-มีอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่ แพทย์จะให้ยาลดกรดควบคู่กับยาลดการสร้างกรดนานประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้กลับไปให้แพทย์ตรวจอีกครั้งเพื่อหาสาเหตุโดยแพทย์จะวินิฉัยแผลเฟ็ปติกซึ่งอาจจะต้องส่องกล้องเพื่อดูลำไส้หรือเอกซเรย์กระเพาะรวมถึงการตัดเนื้อเยื้อมาพิสูจน์หาเชื้อ H Pylori
-หากเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pylori แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะนานประมาณ 1 สัปดาห์หรือมากกว่าเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียออกให้หมดและรักษาแผลอักเสบในกระเพาะอาหารให้ห้าย
-โรคกระเพาะอาหารเกิดจากการใช้ยากลุ่มแอสไพริน แพทย์จะให้ยาจำพวกโอเมพราโซลนานประมาณ 4 สัปดาห์เพื่อปกป้องเยื่อบุกระเพาะ
-งดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารรสจัด ทานอาหารไม่เป็นเวลา ฯลฯ เพื่อให้โรคกระเพาะหายได้เร็วขึ้น

ยาแก้โรคกระเพาะ

ยาแก้โรคกระเพาะ Sucralfate ช่วยในการเคลือบกระเพาะ
จะแบ่งเป็นยาที่รักษาโรคกระเพาะที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไพโลไร (H Pilori) และยารักษากระเพาะที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร
ยารักษาโรคกระเพาะที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร มีดังนี้
- Losec (โลแซก),Miracid (ไมราซิด) ทานครั้งละ 1 แคปซูลวันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร เป็นยาลดการสร้างกรด
-ไมโทรไนดาโซล, คลาริโทรไมซิน ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
ยารักษาโรคกระเพาะที่ไม่ได้เกิดจาการติดเชื้อ H Pilori
-Sucralfate ครั้งละ 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นยาช่วยปกป้องเยื่อบุในกระเพาะ
-Ranitidine ครั้งละ 300 มิลิกรัม วันละ 1 ครั้งก่อนอนอาจะยาวนานต่อเนื่อง 8-12 สัปดาห์ หากแผลในกระเพาะยังไม่หายอาจจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด
**ยังมียารักษาโรคกระเพาะอาหารอีกหลายชนิดขึ้นอยู่กับแพทย์จะจัดยาให้กับเรา

ข้อปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

-ทานอาหารให้ตรงเวลา
-งดเครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ กาแฟ และบุหรี่
-งดการใช้ยาแอสไพรินหรือยาในกลุ่มเสี่ยง
-งดอาหารที่มีรสจัดเกินไปควรรับประทานอาหาจืดๆ
-กินยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
-ทำจิตใจให้แจ่มใสอย่าเครียด

สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะ

ขมินชันสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะ
สำหรับใครอยากรักษาโรคกระเพาะด้วยสมุนไพรไทยนั้นควรจะเน้นหาสมุนไพรที่ลดธาตุไฟมีคุณสมบัติเย็น เช่น วุ้นว่างหางจระเข้ กระเจี๊ยบ มอญ ใบบัวบก กล้วยน้ำหว้า น้ำมาทำอาหารหรือน้ำดื่มสมุนไพรช่วยให้ลดกรดในกระเพาะและอาการร้อนได้ ส่วนขมิ้นชันก็จัดเป็นเครื่องเทศที่มีประโยชน์อย่างมากในการรักษาโรคกระเพาะ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำขมิ้นชันมาสกัดเป็นอาหารเสริมวางขายตามท้องตลาดด้วย

ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

วิธีส่องกล้องในกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหารนั้นจะเป็นการตรวจเช็คอาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารหรืออาการในระบบทางเดินอาหารอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็น การกลืนอาหารลำบาก ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด การส่องกล้องเข้าไปจะช่วยให้เห็นสภาพภายในของระบบทางเดินอาหารและสามารถนำชิ้นเนื่อออกมาเพื่อพิสูจน์ว่าเกิดการติดเชื้อหรือไม่ ชมคลิปอธิบายการส่องกล้องภายในระบบทางเดินอาหารอย่างละเอียดด้านล่าง