วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การตั้งครรภ์นอกมดลูก(Ectopic pregnancy)


คุณผู้หญิงหลายคนอาจเคยได้ยินกันมาบ้างกับเรื่องของการตั้งครรภ์นอกมดลูก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นมีอันตรายถึงชีวิตได้ แล้วอันตรายนี้เกิดขึ้นอย่างไรกัน? จึงขออธิบายตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการปฏิสนธิเลยแล้วกันนะคะ

ตั้งครรภ์นอกมดลูก

โดยภาวะปกติการตั้งครรภ์นั้นเกิดขึ้น เมื่อมีสเปิร์มจากคุณพ่อถูกปล่อยเข้าไปในช่องคลอดของคุณแม่ และเมื่อสเปิร์มถูกปล่อยออกไปแล้ว เจ้าตัวสเปิร์มนี่แหละค่ะ จะกึ่งไหว้กึ่งคลานเข้าไปในโพรงมดลูกของคุณแม่ และจะคลานต่อไปเรื่อยๆจนถึงท่อนำไข่ เมื่อพบกับไข่ของคุณแม่แล้วเจ้าสเปิร์มตัวนี้ แหละค่ะจะเจาะเข้าไปในไข่ของคุณแม่ กระบวนการนี้เราเรียกว่า การปฏิสนธิ (Fertilization) กลายเป็นเซลล์ของตัวอ่อนและหลังจากนั้นเซลล์ตัวอ่อนนี้ก็จะเริ่มแบ่งตัวไปเรื่อยๆ ช่วงระหว่างการแบ่งตัวนี้เอง กลุ่มเซลล์ตัวอ่อนจะเดินทางลงมาเรื่อยๆจนกระทั่งถึงโพรงมดลูก ฝังตัวลงที่เยื่อบุโพรงมดลูก และเจริญเติบโตต่อไป

ในกระบวนการนี้เอง การตั้งครรภ์นอกมดลูกจะเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มเซลล์ของตัวอ่อนไม่เดินทางไปฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่กลับฝังตังตัวที่ต่อนำไข่ หรืออาจเดินทางย้อนออกจากท่อนำไข่ ไปฝังตัวอยู่ในช่องท้อง ก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่การตั้งครรภ์นอกมดลูกนี้นั้นจะสามารถพบการฝังฝังตัวของตัวอ่อน อยู่ที่ท่อนำไข่ส่วน Ampulla เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกันกับบริเวณที่เกิดการปฏิสนธิ

โดยธรรมชาติท่อนำไข่ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ท่อนำไข่นั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่แคบและมีความสามารถในการขยายตัวได้น้อย เมื่อตัวอ่อนฝังตัวและการแบ่งเซลล์มีจำนวนเพิ่มขึ้นทำให้ตัวอ่อนมีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อถึงจุดที่ท่อนำไข่รับไม่ไหว ท่อนำไข่ก็จะเริ่มปริแตกออก

การปริแตกนี้เองที่จะทำให้เกิดการตกเลือดในช่องท้อง หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที อาจทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ หรือบางรายอาจเกิดการตั้งครรภ์ภายในช่องท้องได้ โดยส่วนของรกจะฝังตัวกับเยื่อบุภายในช่องท้อง หากทากเสียชีวิตก็จะเกิดการสะสมของแคลเซียมที่ส่วนของทารก เรียกว่า ภาวะเด็กหิน(Lithopedian) ซึ่งต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดเช่นเดียวกัน


ความหมายทางการแพทย์ของ การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูก หมายถึง การที่ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ฝังตัวอยู่นอกโพรงมดลูก (บริเวณที่พบบ่อยได้แก่ ท่อนำไข่ และท่อนำไข่เกิดแตกออก เป็นผลให้เกิดการตกเลือดภายในช่องท้อง)

มักพบในหญิงที่เคยเป็นโรคปีกมดลูกอักเสบเรื่อรัง เคยได้รับการผ่าตัดท่อนำไข่ หรือหญิงที่มีท่อนำไข่ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิดพบได้ 1 ใน 200 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด


อาการและอาการแสดง ที่สามารถพบได้ในการตั้งครรภ์นอกมดลูก

อาการ การตั้งครรภ์นอกมดลูก

1. มีประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนมากระปริดกระปรอย มีสีน้ำตาลถึงสีดำ หรือมีอาการขาดประจำเดือน 1-2 เดือน

2. มีอาการปวดท้องน้อยอย่างกะทันหัน ลักษณะอาการปวด ปวดเสียด ปวดอย่างรุนแรง อาการปวดกินระยะเวลานาน อาจเป็นชั่วโมงหรือมากกว่าปวดร้าวไปที่หลัง หรือไหล่

3. ในเวลาต่อมาหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจพบอาการ ซีด หน้ามืดเป็นลม เหงื่อออก ตัวเย็น หายใจเร็ว หากตรวจร่างกาย อาจพบความดันต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว มีไข้ กระหายน้ำ กดเจ็บหรือคลำพบก้อนที่ท้อง ซึ่งเป็นอาการแสดงของภาวะช็อก อันเนื่องมาจากการเสียเลือด

4. ในรายที่ไม่มีการตกเลือดและเป็นอย่างเรื้อรัง อาจพบเพียง อาการปวดท้องน้อยบ่อยครั้งร่วมกับการมีประจำเดือนมาผิดปกติ

ภาวะแทรกซ้อน จากการตั้งครรภ์นอกมดลูก

1. ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดคือ การตกเลือด อาจมากจนกระทั่งถึงภาวะช็อก ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

2. โดยปกติการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะได้รับการรักษา โดยการผ่าตัด หากท่อนำไข่บริเวณที่ตัวอ่อนฝังตัว แตกจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ ท่อนำไข่ข้างนั้นๆจะถูกตัดทิ้งได้

3. อาจส่งผลให้ ท่อนำไข่อักเสบ ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ


การรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่จะได้รับ

การรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูก
1. หากมาโรงพยาบาลด้วยภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ คือ ภาวะ hypovolemic shock หรือภาวะช็อกจากการสูญเสียเลือด เนื่องมาจากตกเลือดภายในช่องท้อง สิ่งแรกที่ได้รับคือ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด หรือ การให้น้ำเกลือนั่นเอง เพื่อแก้ไขภาวะช็อก และตามด้วยการซักประวัติ หาสาเหตุของการเกิดภาวะช็อก ตามด้วยการให้การรักษาอย่างเร่งด่วน

2. หากท่านมาถึงโรงพยาบาลด้วยภาวะที่ไม่ฉุกเฉิน(ภาวะช็อก ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์) อันดับแรกผู้ป่วยจะต้องได้รับการซักประวัติ เกี่ยวกับอาการที่นำมาโรงพยาบาล และประวัติการมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติควรแจ้งแพทย์และพยาบาลให้ทราบด้วย

***ประวัติของผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการนำพาแพทย์ไปสู่แนวทางในการวินิจฉัยที่ถูกต้องและแม่นยำ ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือ ในการให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ซักประวัติ เพื่อความรวดเร็วในการวินิจฉัยและรักษานำไปสู่ความปลอดภัยต่อชีวิตของผู้ป่วยเอง

3. การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับของฮอร์โมน เอชซีจี (hCG : human chorionic gonadotropin) เพื่อตรวจสอบว่ามีการตั้งครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ยังดำเนินอยู่หรือไม่

4. อาจมีการตรวจภายในช่องคลอด

5. ตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(ultrasound) การตรวจชนิดนี่เป็นการตรวจที่ให้ความแม่นยำที่สุด เนื่องจากการตรวจนี้จะสามารถมองเห็นภาพภายในช่องท้องได้ และทำให้แพทย์สามารถแยก การตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ยากโรคที่มีอาการแสดงที่คล้ายเคียงกัน เช่น ปีกมดลูกอักเสบ ถุงน้ำที่รังไข่ ได้

6. เมื่อได้รับการวินิจฉัยอย่างแน่นอนแล้วว่ามีการตั้งครรภ์นอกมดลูก สิ่งที่จะได้รับต่อไปคือการเตรียมการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาเพียงทางเดียวของการตั้งครรภ์นอกมดลูก หากการตั้งครรภ์มีการดำเนินไปไม่นาน ตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตไม่มาก ท่อนำไข่เสียหายไม่มาก แพทย์อาจพิจารณาเย็บซ่อมสามารถรักษาท่อนำไข่ไว้ได้ ส่วนในรายที่ท่อนำไข่แตกเสียหายเป็นอย่างมากไม่สามรถรักษาไว้ได้ จะได้ได้รับพิจารณาให้ตัดท่อนำไข่ส่วนนั้นทิ้งไป ส่วนในราที่เป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกชนิดเรื้อรัง ส่วนของทารกมีแคลเซียมเกาะกลายเป็นเด็กหิน(Lithopedian) ก็จะได้รับการผ่าตัดออกเช่นเดียวกัน



อย่างไรก็ตามการศึกษาหาข้อมูลความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ก่อนที่จะตั้งครรภ์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ และต่อชีวิตของหญิงตั้งครรภ์เอง