วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รกเกาะต่ำ(Placenta previa)คืออะไร ?


ภาวะรกเกาะต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อหญิงตั้งครรภ์เนื่องจาก การเกิดภาวะรกเกาะต่ำ หากคลอดเองโดยธรรมชาติ อาจทำให้เกิดการตกเลือดอย่างมาก เนื่องจากเกิดการลอกตัวของรกก่อนกำหนด หรือไม่สามารถคลอดเองได้เลยเนื่องจากรกปิดคลุมปากมดลุกทั้งหมด ต้องทำคลอดโดยวิธีการผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้องเท่านั้น หากไม่ทราบสาเหตุ อาจพบการอยู่ในระยะคลอดที่ยาวนาน เนื่องจากทารกไม่สามารถคลอดออกมาได้ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของมารดาและทารกได้

ความหมายทางการแพทย์ของรกเกาะต่ำ

ภาวะรกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำ หมายถึง การที่มีบางส่วนของรก หรือรกทั้งอันเกาะอยู่ที่ส่วนล่างของมดลูก(lower uterine segment) มักพบเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนมากมักพบในไตรมาสที่สาม โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 8 เดือน

จำแนกเป็น 4 ชนิดคือ

อาการภาวะรกเกาะต่ำ
  1. ขอบรกอยู่เหนือปากมดลูกด้านใน (low lying placenta หรือ placenta previa type I)หมายถึงรกที่ฝังตัวบริเวณ lower uterine segment ซึ่งขอบรกยังไม่ถึง Internal os ของปากมดลูก แต่อยู่ใกล้ชิดมาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า lateral placenta previa
  2. ขอบรกปิดถึงบริเวณปากมดลูกด้านใน (marginal placenta previa หรือ placenta previa type II)หมายถึง รกเกาะต่ำชนิดที่ขอบรกเกาะถึงขอบ Internal os
  3. รกปิดปากมดลูกด้านในเพียงบางส่วน (Partial placenta previa หรือ placentaprevia type III)หมายถึง รกเกาะต่ำชนิดที่ขอบรกคลุมปิด Internal os เพียงบางส่วน
  4. รกปิดปากมดลูกด้านในทั้งหมด (Total placenta previa หรือ placenta previa totalis หรือ placenta previa type IV)หมายถึง รกเกาะต่ำที่คลุมปิด Internal os ทั้งหมด

สาเหตุ และปัจจัยที่ทำให้เกิดรกเกาะต่ำ

สาเหตุภาวะรกเกาะต่ำ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดรกเกาะต่ำได้ มีดังนี้
  1. อายุ พบมากในสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี
  2. จำนวนครั้งของการคลอด(parity)พบว่าจำนวนครั้งยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาส รกเกาะต่ำได้มาก
  3. การทำลายของส้นเลือดของเยื่อบุมดลูก เป็นผลมาจากการลีบเล็กของเซลล์เช่น มารดาที่เคยขูดมดลูก เคยผ่าตัดมดลูก สูบบุหรี่จัด
  4. มารดารที่เคยมีรกเกาะต่ำมาก่อน
  5. การตั้งครรภ์แฝด
  6. รกผิดปกติ

การวินิจฉัยการเกิดภาวะรกเกาะต่ำ

  1. จากการซักประวัติ พบอาการและอาการแสดงที่สำคัญคือ มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ หรืออาการปวด มักพบในไตรมาสที่ 3 อายุครรภ์ประมาณ 30 สัปดาห์ไปแล้ว เลือดที่ออกไม่มีอาการนำมาก่อน จำนวนเลือดที่ออกไม่มากนัก มักหยุดเองและมีลักษณะสีแดงสด
  2. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)เพื่อหาตำแหน่งการเกาะของรก มีความแม่นยำสูงมากเนื่องจาก คลื่นเสียงจะสะท้อนภาพความผิดปกติต่างๆที่อยู่ภายในช่องท้องออกมาได้
  3. การตรวจร่างกาย
  • พบอาการซีด สัมพันธ์กับปริมาณเลือดที่ออก จากการที่มีการสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก ร่างกายจึงตอบสนองโดยการหดตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย เพื่อลดการสูญเสียเลือดจากบริเวณที่มีเลือดออก และเพื่อเพิ่มแรงดันเลือดให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอเมื่อหลอดเลือดมีการหดตัวทั่วร่างกาย สิ่งที่แสดงออกมาให้เห็นได้ คือ ผิวหนังจะซีด และเห็นได้ชัดบริเวณเยื่อบุอ่อน เช่น กระพุ้งแก้ม เยื่อบุตา เป็นต้น
  • การตรวจทางหน้าท้องคลำพบมดลูกนุ่ม คลำพบทารกได้ชัดเจน อาจคลำพบว่าทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ ถ้าศีรษะทารกเป็นส่วนนำ จะพบว่าส่วนนำลอยอยู่ศีรษะยังไม่เข้าสู่อุ้งเชิงกราน เนื่องจากมีรกขวางอยู่ที่บริเวณใกล้ปากมดลูกทำให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนต่ำลงมาได้
  • การตรวจทางช่องคลอดควรทำเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์(เนื่องจากการตรวจทางช่องคลอดเป็นส่วนกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดได้จึงเสี่ยงต่อภาวะ การคลอดก่อนกำหนด) เพราะเมื่อทารกคลอดแล้วจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่ต้องทำคลอดในห้องผ่าตัดเนื่องจากคลอดธรรมชาติอาจทำให้เกิดการตกเลือดจากการลอกตัวของรกก่อนกำหนดหรืออาจไม่สามารถคลอดได้เลยเนื่องจากรกปิดคลุมปากมดลูกอยู่

ผลต่อมารดาแลทารกเมื่อเกิดภาวะรกเกาะต่ำ

ผลต่อมารดา ได้แก่ การตกเลือดระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักพบว่าสามารถประคับประคองการตั้งครรภ์ต่อไปได้จนทารกปลอดภัย

ผลต่อทารก ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด ทารกขาดออกซิเจน ทารกพิการแต่กำเนิด และทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์


การรักษาภาวะรกเกาะต่ำ

การรักษามีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ ป้องกันให้หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้รบอันตรายจากการตกเลือด และไม่ให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด

การรักษาประกอบด้วย
  1. การรักษาตามอาการ(expectant treatment หรือ conservative treatment)เป็นการรักษาดำเนินไปได้จนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์
  2. การรักษาแบบรีบด่วน (Active treatment)เป็นการรักษาที่ทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง

ใช้ในกรณีต่อไปนี้ คือ อายุครรภ์เกิน 37 สัปดาห์ไปแล้ว ทารกน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม เลือดออกมาก ทารกตายในครรภ์ เป็น placenta previa totalis และมีการเจ็บครรภ์ถึงแม้อายุครรภ์จะน้อยกว่า37 สัปดาห์