วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer) คืออะไร อ่านการอย่างไร อ่าน


ต่อมลูกหมากเป็นหนึ่งในไม่กี่อวัยวะที่มีเฉพาะในผู้ชาย แม้ว่าต่อมลูกหมากจะมีขนาดเล็กเพียงแค่เกาลัดหนึ่งผล แต่ก็มีความสำคัญมากในระบบสืบพันธุ์เพศชาย เพราะทำหน้าที่ในการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงให้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย(อสุจิ) และยังมีส่วนในการปกป้องสารพันธุกรรมของอสุจิอีกด้วย เมื่อผู้ชายมีอายุมากขึ้น ขนาดของต่อมลูกหมากและความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของอวัยวะนี้ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือจะเพิ่มมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป

เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ มะเร็งต่อมลูกหมากก็เป็นการเจริญพัฒนาที่ผิดปกติของเซลล์ ทำให้มีจำนวนเซลล์มากเกินไป ไม่สามารถควบคุมได้ และยังมีความสามารถในการลุกลามต่อไปยังอวัยวะใกล้เคียงอีกด้วย โดยทั่วไปโรคนี้ถือว่าเป็นโรคมะเร็งของชายสูงอายุ พบมากในวัยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และผลการจัดอันดับของมะเร็งในเพศชายทั้งหมด พบว่ามะเร็งต่อมลูกหมากพบบ่อยเป็นลำดับ 2 รองมาจากมะเร็งปอด

ระยะการดำเนินโรคของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ระยะที่ 1 : ยังไม่สามารถคลำก้อนได้ หากตรวจพบในระยะนี้จะรักษาโดยการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง
  • ระยะที่ 2 : มีขนาดโตกว่าระยะที่ 1 แต่ยังคงไม่มีการลุกลาม
  • ระยะที่ 3 : เซลล์มะเร็งมีการเจริญออกมานอกเยื่อหุ้มชั้นนอกของต่อมลูกหมาก
  • ระยะที่ 4: เซลล์มีการเจริญลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆ
สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากมีอะไรบ้าง

มะเร็งต่อมลูกหมาก


ในปัจจุบันยังคงเป็นความไม่แน่นอน และต้องอาศัยการศึกษาทางการแพทย์เพิ่มเติม สำหรับสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ที่ทราบก็เพียงแค่ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของการเกิดโรค ดังนี้
  1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น – มะเร็งต่อมลูกหมากจะพบบ่อยในเพศชายสูงอายุ
  2. เชื้อชาติ – ชาวสแกนดิเนเวียมีความเสี่ยงมากที่สุด ในขณะที่ชาวเอเชียมีความเสี่ยงน้อยสุด
  3. พันธุกรรม/ประวัติครอบครัว – ผู้ที่มีบรรพบุรุษสายตรงเป็นโรคนี้ จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นประมาณ 3 เท่า
  4. อาหาร – ผู้ที่บริโภคอาหารพลังงานสูง จำพวกไขมันสัตว์เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงมากกว่า
  5. เซลล์ต่อมลูกหมากที่เปลี่ยนแปลง : การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่อมลูกหมากอาจส่งผลให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ตามมา

มะเร็งต่อมลูกหมากมีอาการอย่างไร

มะเร็งต่อมลูกหมาก อาการ
ในระยะเริ่มต้นของมะเร็งต่อมลูกหมากจะยังไม่มีอาการความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น โดยทั่วไปการตรวจพบโรคจึงเป็นผลจากการไปตรวจสุขภาพประจำปีของตัวผู้ป่วยเอง โดยหากได้รับการวินิจฉัยตั้งแน่เนิ่นๆ เช่นนี้ ผู้ป่วยจะมีโอกาสสูงมากที่จะหายขาดจากโรคได้

สำหรับผู้ที่มีอาการ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1.อาการเกี่ยวข้องกับโรคต่อมลูกหมากโต

ความผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ ได้แก่
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ขณะถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการปวด แสบ
  • ปัสสาวะต้องเบ่งนาน ปัสสาวะขัด
  • มีเลือดปนมากับปัสสาวะ หรือปนมากับอสุจิ
  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
  • ปัสสาวะอ่อนแรง ไม่พุ่งเหมือนปกติ
เนื่องจากอาการที่คล้ายคลึงกันมากของโรคต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์จึงจำเป็นต้องมีการตรวจค้นมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำ เพราะทั้งสองโรคนี้เป็นคนละชนิดโรคกัน แม้ว่าสองโรคนี้อาจพบร่วมกันได้ในผู้ป่วยหนึ่งราย แต่ถึงอย่างไรผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตก็ไม่ได้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ เพราะต่อมลูกหมากโตไม่สามารถแปรสภาพไปเป็นมะเร็งได้
2.อาการทั่วไปของโรคมะเร็ง
  • ไม่เจริญอาหาร รับประทานได้ลดลง
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และกระดูก

การเจริญของเซลล์มะเร็งที่มากขึ้นจนรุกล้ำไปยังอวัยวะอื่น เป็นผลให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ดังนั้นจึงสามารถพบได้ในโรคมะเร็งทุกชนิด

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

ในการรักษาโรคมะเร็ง แพทย์จากในหลายๆ สาขาจะมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดแผนการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นการผสมผสานวิธีการรักษาในหลายๆ แบบ

วิธีการรักษา สามารถสรุปได้ดังนี้
  • การเฝ้าระวังในผู้ป่วยระยะเริ่มแรก

โดยทั่วไปเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้นจะเจริญอย่างช้าๆ การรักษาจะสร้างความเจ็บปวด ไม่สบาย ให้กับตัวผู้ป่วยมากกว่าการอยู่เฉยๆ ดังนั้นหากมีการตรวจพบโรคในระยะนี้ แพทย์จะแนะนำให้ทำการเฝ้าสังเกตอาการไปเรื่อยๆ ในระหว่างนั้นก็ตรวจวินิจฉัยค่าต่างๆที่เป็นตัวบ่งชี้โรคอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าเนื้อร้ายจะมีการแพร่กระจาย มีอาการเจ็บปวด หรือมีการอุดตันของท่อปัสสาวะเกิดขึ้น แพทย์ถึงจะเริ่มเข้ากระบวนการรักษา
  • การรักษาเฉพาะที่

จุดประสงค์หลักของการรักษาแบบนี้คือ เพื่อกำจัดเอาเซลล์มะเร็งในบริเวณที่เฉพาะเจาะจง และในบริเวณจำกัด ออกจากร่างกาย เช่น การผ่าตัด และการฉายรังสี โดยทั่วไปวิธีนี้อาจจะสามารถกำจัดมะเร็งออกได้ทั้งหมด แต่ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปนอกต่อมลูกหมากแล้ว อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาแบบอื่น
1.การผ่าตัด

เป็นการตัดเอาเนื้องอกและเนื้อเยื่อโดยรอบทิ้งไป นอกเหนือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง ซึ่งก็คือผู้เชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งด้วยวิธีการผ่าตัดแล้ว ในกรณีของมะเร็งต่อมลูกหมาก ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะจะมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งวิธีการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย ความพร้อมของผู้ป่วย และปัจจัยอื่นๆ

วิธีการผ่าตัดมีดังนี้
  • Radical (open) prostatectomy

ผ่าตัดต่อมลูกหมาก รวมทั้ง Seminal vesicles และ vas deferens ออกทั้งหมด

  • Robotic or laparoscopic prostatectomy

ผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหุ่นยนต์

  • Cryosurgery

ผ่าตัดด้วยความเย็นจัด

  • Transurethral resection of the prostate (TURP)

ผ่าตัดโดยการส่องกล้อง
2.รักษาด้วยการฉายรังสี

วิธีนี้จะใช้รังสีพลังงานสูงในการทำงานเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมากสามารถแบ่งชนิดแยกย่อยได้ ดังนี้
  • External-beam radiation therapy – การฉายรังสีจากภายนอก
  • Intensity-modulated radiation therapy (IMRT) – การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม
  • Proton therapy – การรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน
  • Brachytherapy – การฝังแร่กัมมันตรังสี

การรักษาด้วยรังสีอาจจะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นทันที เช่น ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผลข้างเคียงจะหายไปเอง หลังจากเสร็จสิ้นการรักษา แต่ก็มีผลข้างเคียงบางอย่างที่จะไม่ปรากฏจนกว่าจะครบเดือน หรืออาจเป็นปี หลังจากได้รับการรักษา
3.การรักษาตามระบบ

แพทย์จะเลือกใช้วิธีต่างๆ ในการจัดการกับมะเร็ง โดยทั่วไปการรักษาตามระบบเหมาะกับผู้ป่วยในระยะท้ายๆ หรือ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งอาจใช้การรักษานี้เพื่อทำให้มะเร็งหดเล็กลง ก่อนที่จะทำการผ่าตัดหรือฉายรังสี และอาจใช้การรักษาแบบนี้หลังจากการผ่าตัดหรือฉายรังสี เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่เหลือให้หมดไป และลดโอกาสของการกลับมาเป็นซ้ำ
  • Hormonal therapy – การรักษาด้วยฮอร์โมน

เป็นการรักษาเพื่อยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย(เทสโทสเทอโรน) มีหลายวิธี ได้แก่
  • Bilateral orchiectomy

การผ่าตัดลูกอัณฑะทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของฮอร์โมนเพศชาย ทิ้งไป

– LHRH (luteinizing hormone-releasing hormone) agonists

LHRH agonists มีคุณสมบัติในการยับยั้งลูกอัณฑะไม่ให้สร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนได้ โดยสามารถทำให้ระดับของฮอร์โมนลดลงได้ดีเทียบเท่ากับการตัดลูกอัณฑะเลยทีเดียว
  • LHRH antagonist

สามารถยับยั้งลูกอัณฑะไม่ให้สร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ได้เช่นกัน แต่เร็วกว่า และไม่มีอาการข้างเคียงเหมือน LHRH agonists Anti-androgens ป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน จับกับตัวรับสัญญาณ ส่งผลให้ฮอร์โมนนี้ ไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้สำเร็จ


  • Combined androgen blockade

การรักษาด้วยวิธี Hormonal therapy ข้างต้นที่กล่าวมา อาจใช้ร่วมกันได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

  • CYP17 inhibitors

นอกเหนือจากลูกอัณฑะแล้ว เซลล์อื่นๆ ในร่างกายยังสามารถสร้างฮอร์โมนเพศชายได้ แม้ว่าจะปริมาณเล็กน้อย แต่ก็ส่งผลต่อการเจริญของมะเร็ง ซึ่ง CYP17 inhibitors มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้เซลล์เหล่านี้สร้างฮอร์โมนเพศได้

  • Chemotherapy – การรักษาด้วยเคมีบำบัด

เป็นการใช้ยาเพื่อหยุดความสามารถในการเจริญและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง

  • Vaccine therapy – การรักษาด้วยวัคซีน

เป็นการรักษาชนิดที่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบำบัด” เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับมะเร็งได้


ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

รายชื่อต่อไปนี้เป็นยารักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่ได้รับ FDA Approved หรือได้การยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • Abiraterone Acetate
  • Bicalutamide
  • Cabazitaxel
  • Casodex (Bicalutamide)
  • Degarelix
  • Docetaxel
  • Enzalutamide
  • Goserelin Acetate
  • Jevtana (Cabazitaxel)
  • Leuprolide Acetate
  • Lupron (Leuprolide Acetate)
  • Lupron Depot (Leuprolide Acetate)
  • Lupron Depot-3 Month (Leuprolide Acetate)
  • Lupron Depot-4 Month (Leuprolide Acetate)
  • Lupron Depot-Ped (Leuprolide Acetate)
  • Mitoxantrone Hydrochloride
  • Prednisone
  • Provenge (Sipuleucel-T)
  • Radium 223 Dichloride
  • Sipuleucel-T
  • Taxotere (Docetaxel)
  • Viadur (Leuprolide Acetate)
  • Xofigo (Radium 223 Dichloride)
  • Xtandi (Enzalutamide)
  • Zoladex (Goserelin Acetate)
  • Zytiga (Abiraterone Acetate)

สมุนไพรที่ใช้รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

น้ำทับทิม มีผลการวิจัยระบุชัดเจนว่า หลังจากได้รับประทานน้ำทับทิมต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากมีผลการรักษาที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเจริญเติบโตที่ลดลงของเซลล์มะเร็ง การตายไปของเซลล์มะเร็ง การลดลงของค่า PSA (Prostate-specific antigen) ซึ่งเป็นโปรตีนตัวบ่งชี้ของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น