วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีอันตรายมากแค่ไหน มาดูกัน




ต่อมน้ำเหลือง คือ ส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมีม้าม และ ไขกระดูก เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่นำสารอาหารและเซลล์เม็ดเลือดขาวไปป้องกันส่วนต่างของร่างกาย ซึ่งภายในม้ามและไขกระดูกจะมีน้ำเหลืองมากมายเพื่อให้เม็ดเลือดขาวและสารอาหารเดินทางไปทั่วร่างกายได้ ซึ่งหากเกิดเนื้องอกในระบบน้ำเหลืองของร่างกายหรือเกิดความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว ก็จะทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่ชนิด
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมี 2 ชนิด คือ
1. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Non-Hodgkin lymphoma (NHL)
2. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Hodgkin disease (HD)
สำหรับในสถิติประเทศไทยจะพบชนิด NHL มากที่สุดครับ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด Non-Hodgkin Lymphoma สามารถแบ่งย่อยได้อีกว่า 30 ชนิด แต่ถ้าแบ่งจากระยะการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. แบบเจริญเติบโต้ช้า (Indolent) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้จะมีการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งช้า อาการที่แสดงออกมามีน้อยมาก คนที่ป่วยเป็นมะเร็งชนิดนี้มักจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งเมื่อเซลล์มะเร็งกระจายไปทั่วร่างกายแล้ว มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้รักษาได้แต่ส่วนมากหายไม่ขาดและจะกลับมาเป็นบ่อย ถึงแม้จะใช้วิธีเคมีบำบัดก็ตาม
2. ชนิดรุนแรง (Aggressive) มะเร็งชนิดจะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ที่ปวยเป็นมะเร็งชนิดนี้มีอาการหนักมากและอาจจะเสียชวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว คือ 6 - 24 เดือน ถึงแม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่รวดเร็ว แต่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด (Hodgkin Lymphoma)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้พบได้น้อยมาก ในแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินนี้ 62,000 คนทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชายกว่าร้อยละ 60 และอีกร้อยละ 40 เป็นเพศหญิง อัตราการเสียชีวิตของมะเร็งประเภทนี้อยู่ที่ปีละ 25,000 คน อาการของมะเร็งชนิดนี้จะค่อยเป็นค่อยไปมีการเติบโตของเซลล์มะเร็งช้า

อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
กว่าที่เราจะเห็นอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็กินเวลาไปนานหลายปีเลยทีเดียว ซึ่งอาการส่วนใหญ่ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็จะมีตัวอย่างดังนี้ครับ

อาการมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะเบื้องต้น
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- อ่อนเพลียงเหนื่อยง่าย
- มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
- ไอ หายใจไม่สะดวก เป็นเวลานานเรื้องรัง
- ต่อมทอมซิลโต
- คันทั่วร่างกาย
- ปวดศรีษะ

อาการมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะลุกลาม
- หากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องจะมีอาการแน่นท้อง ท้องผูก อาหารไม่ย่อย
- ปวดบริเวณต่อมน้ำเหลือง (ม้าม) เวลาดื่มเหล้า เบียร์

สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ยังไม่มีสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมถึงเกิดความผิดปกติในระบบต่อมน้ำเหลืองอันนำไปสู่โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่โดยสถิติแล้วผู้ที่เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้รับยากดภูมิคุ้มกันโรค ผู้ป่วยเอดส์ ผุ้ที่ได้รับสารเคมี มีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
โดยปกติแล้วการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะขึ้นอยู่กับปัจจับหลัก 3 อย่างนี้ก่อน
 1. ชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เป็น แบบ NHL หรือ HD หรือแบบย่อยอื่นๆ
 2. ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เป็นว่าอยู่ในระยะลุกลามหรือระยะเบื้องต้น
 3. ความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน
ในปัจจุบันมีวิธีการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองหลากหลายรูปแบบ ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับชนิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผู้ป่วยเป็น และค่าใช้จ่ายด้วยครับ

วิธีในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
1. Biologic Therapy (ชีวิภาพบำบัด) หลักการของวิธีการรักษาแบบนี้คือเพิ่มความสามารถให้กับร่างกายของเราให้ไปสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ยา หรือ ฉีดวัคซีน ให้กับร่างกายเพื่อไปต่อสู้กับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

2. เคมีบำบัด (Chemotherapy) เรียกสั้นว่า "Chemo"
เป็นการใช้สารเคมีเพื่อไปฆ่าเซลล์มะเร็งซึ่งทำให้ขนาดของเซลล์มะเร็งลดลง แต่วิธีนี้มีผลค้างเขียงคือมันจะไปทำลายเซลล์ที่ดีของร่างกายด้วยทำให้บางคนผมร่วง ผิวเหลือง ตาเหลือง วิธีการใช้เคมีบำบัดเป็นวิธีรักษาที่นิยมใช้ร่วมกันการฉายรังสี

3. การฉายรังสี Radiation Therapy
เป็นการใช้พลังงานจากรังสี X-rays เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง เหมาะสำหรับเซลล์มะเร็งที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นก้อนเนื้อจุดเล็กๆ

4. การปลูกถ่ายเซลล์มะเร็ง (Transplants)
เป็นการปลูกเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความแข็งแรงเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและไขกระดูก โดยจะเป็นการปลูกถ่ายเซลล์ไปที่ไขกระดูกเพื่อให้ได้เม็ดเลือดใหม่ที่มีความแข็งแรงขึ้น ปกติจะมีการปลูกถ่าย 2 แบบคือ

1. Autologous คือ การใช้ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดของผู้ป่วย
2. Allogeneic คือ การใช้ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดของผู้ที่บริจาคให้ (มักจะเป็นคนในครอบครัว จึงจะใช้ร่วมกันได้)

โดยการรักษาจะต้องคอยตรวจว่าเซลล์ที่ปลูกถ่ายเข้าไปแข็งแรงหรือไม่ และลดการเจริญเติบโตของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้หรือไม่


ในปัจจุบันกำลังมีทดสอบการรักษาด้วยวิธีอื่นๆอีก เพื่อหาวิธีที่ต้องให้ผลในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ดีที่สุด
ภาพมะเร็งต่อมน้ำเหลือง