วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ป้องกันลูกน้อยจาก "โรคมือเท้าปาก" ภัยร้ายสำหรับเด็กที่คุณแม่ต้องอ่าน

โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในเด็กที่คุณพ่อและคุณแม่ต้องทำความรู้จักกับโรคนี้ให้ดีเพื่อป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคติดต่อชนิดนี้ โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทุกมีและมีผู้เสียชีวิตทุกปี herb-health.com ก็เลยจะมาแนะนำโรคโรคมือเท้าปากให้รู้จัก ทั้งการติดต่อ อาการเบื้องต้น การป้องกัน รวมถึงการรักษาด้วย ก่อนอื่นไปชมภาพความน่ากลัวของโรคมือเท้าปากกันเสียก่อน
ตุ่มแดงที่เท้าจากโรคมือเท้าปาก

ผื่นแดงใต้ฝ่าเท้าของโรคโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปากรุนแรงจะเป็นตุ่มทั้งตัว
โรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่

โรคมือเท้าปากเกิดจากอะไร
โรคมือเท้าและปาก ภาษาอังกฤษเรียกว่า (Hand, foot and mouth disease ตัวย่อคือ HFMD) เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล พิอร์นาไวริดี (Picornaviridae) ซึ่งมี 2 สายพันธ์ที่พบบ่อยคือไวรัสคอกแซคกี เอ 16 (Coxsackievirus A16) และ เอ็นเทอร์โรไวรัส 71 (Enterovirus 71) ซึ่ง 2 สองพันธุ์นี้จะมีอาการรุนแรงมากที่สุดส่วนสายพันธุ์อื่นจะไม่ร้ายแรงเท่าไวรัส 2 สายพันธุ์นี้ โรคมือเท้าปากมักพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนมากระบาดในช่วงฤดูฝนพ่อและแม่ควรสังเกตุลูกให้ดี

โรคมือเท้าปากติดต่ออย่างไร
โรคนี้ติดต่อได้ง่ายผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของร่างการ เช่น น้ำลาย เลือด อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเหลือง น้ำมูก ซึ่งส่วนใหญ่โรคนี้จะติดต่อผ่านการกินอาหาร น้ำดื่ม ดูดเลียนิ้วมือหรือของเล่นเด็กซึ่งสถานที่แพร่ระบาดของโรคมือเท้าปากมากที่สุดก็จะเป็นสถานเลี้ยงเด็กอ่อนหรือเด็กอนุบาล ซึ่งคุณพ่อและคุณแม่ของเด็กต้องสังเกตุโรงเรียนหรือห้องเรียนของลูกด้วยว่ามีความสะอาดและมาตรฐานเพียงพอที่จะทำให้ลูกน้อยของเราห่างไกลจากโรคมือเท้าปาก
โรคเท้าปากเปื่อยที่เกิดในวัวเป็นคนละโรคกับโรคมือเท้าปากในเด็ก แต่เกิดจากไวรัสตระกูลเดียวกัน

โรคนี้มีระยะฟักตัว 1 สัปดาห์และสามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ และโรคมือเท้าปากเป็นกับโรคเท้าและปากที่เกิดขึ้นในวัว พบการติดเชื้อน้อยในผู้ใหญ่และผู้ที่เป็นภูมคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์จะติดโรคนี้ได้ง่ายทำให้เราเห็นผู้ช่ยเอดส์มีตุ่มเยอะก็มาจากโรคมือเท้าปากนี่แหละ

อาการของโรคโรคมือเท้าปาก
ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากมักมีอาการดังนี้
วันที่ 1-2 วันแรกมีอาการไม่สบายตัว อ่อนเพลีย
วันที่ 3-7 จะเริ่มมีไข้ขึ้น เบื่ออาหารกินอาหารได้น้อย

ช่วงแรกโรคมือเท้าปากจะเป็นตุ่มเรียบๆอยู่

วันที่ 8-10 เด็กจะเริ่มเจ็บคอ เจ็บปาก กินอาหารลำปากจะเริ่มมีตุ่มแดงๆ ใสๆ ขึ้นในช่องปากบริเวณลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาตุ่มเหล่านี้จะแตกซึ่งช่วงนี้ลูกจะทรมากและน่าสงสารมากๆ ต้องพาไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาแล้ว

ตุ่มที่ก้นของโรคมือเท้าปาก
วันที่ 8-10 เช่นกันจะเริ่มีตุ่มที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แก้มก้น ซึ่งตอนแรกจะเป็นจุดสีแดงเล็กๆแล้วจะเริ่มีน้ำ ส่วนมากจะไม่คัน อาการไข้จะเริ่มหายเมื่อผ่านไป 3-4 วัน

แผลในปากของโรคโรคมือเท้าปากจะหายไปเองใน 1 สัปดาห์ส่วนแผลที่เท้าจะหายในช่วงประมาณวันที่ 10 โรคโรคมือเท้าปากจะหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์เป็นอย่างช้า ซึ่งเด็กที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีอาการปวดศรีษะมาก มีอาการอาเจียน ซึม หรือถึงขนาดชักเลยก็มีซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ด้วย

การรักษาโรคโรคมือเท้าปาก
ในัปจจุบันโรคมือเท้าปากยังไม่มียารักษาเฉพาะซึ่งโดยส่วนมากโรคนี้จะหายไปเอง การรักษาโรคมือเท้าปากจะรักษาตามอาการ เช่น ถ้าปวดหัวมากก็ให้ยาแก้ปวดหัว ถ้าไข้สูงก็ให้ยาลดไข้ ถ้าแผลเยอะก็ให้ยาฆ่าเชื้อหรือยาแก้อักเสบ เป็นต้น

การป้องกันโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค การป้องกันโรคนี้ก็คือต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กเกิดการติดเชื้อจากผู้อื่นได้เช่น
- ให้เด็กล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากเล่นของเล่น
- สอนให้เด็กอย่านำวัตถุแปลกปลอมเข้าปากถ้าเด็กเริ่มคุยรู้เรื่องแล้ว
- ตรวจสอบโรงเรียนหรือห้องเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เราส่งลูกเข้าเรียนว่ามีความสะอาดเพียงพอและถูกสุขลักษณะหรือไม่
- คุณพ่อและคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตุอาการของลูกว่ามีความเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการคล้ายว่าจะเป็นโรคมือเท้าปากเพื่อพาไปพบแพทย์ตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรง และยังป้องกันให้เด็กคนอื่นไม่ติดเชื้อจากลูกของเราในกรณีที่ลูกเราเป็นโรคมือเท้าปาก
- โรคมือเท้าปากจะต้องพักฟื้นอยู่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์เพื้อป้องกันการติดเชื้อเนี่องจากว่าเมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ป่วยยังมีเชื้ออยู่ในอุจาระได้