วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer)คืออะไร


หลอดอาหาร (Esophagus)เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในระบบย่อยอาหาร แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเพียงท่อกลวงๆ และไม่ได้มีทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่หลอดอาหารก็มีหน้าที่ในการส่งผ่านอาหารและน้ำ จากคอหอยเข้าสู่กระเพาะอาหาร โดยการบีบและหดตัวของมัน สำหรับมะเร็งหลอดอาหาร มักเริ่มด้วยเซลล์เยื่อบุภายในหลอดอาหารมีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ จากนั้นจึงเจริญพัฒนาต่อไปยังผนังด้านนอก จนสุดท้ายออกนอกหลอดอาหาร และแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะใกล้เคียงในที่สุด


มะเร็งหลอดอาหาร


โดยทั่วไปมะเร็งหลอดอาหารมักพบในประชากรเพศชายของประเทศที่กำลังพัฒนาในช่วงวัย 55-65 ปี เป็นมะเร็งชนิดที่พบบ่อยเป็นลำดับที่ 7 ของทั่วโลก ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามบริเวณที่เกิดมะเร็ง คือ
  • squamous cell carcinoma เกิดการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดอาหาร โดยทั่วไปพบที่ส่วนต้นไปจนถึงส่วนกลางของหลอดอาหาร
  • Adenocarcinoma เกิดที่ต่อมในบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร
ระยะการดำเนินโรคของมะเร็งหลอดอาหาร
  • ระยะที่ 1:ก้อนเนื้อมีขนาดเล็ก และอยู่แค่ภายในหลอดอาหาร
  • ระยะที่ 2 :มีการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังเนื้อเยื่อชั้นนอกของหลอดอาหาร
แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง 1-2 ต่อมในบริเวณใกล้เคียง
  • ระยะที่ 3: การแพร่กระจายของมะเร็ง ลุกลามต่อไปถึงอวัยวะใกล้เคียง
แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง > 2 ต่อม
  • ระยะที่ 4 : มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ไกลออกไป
แพร่กระจายเข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ปอด ตับ กระดูก และผิวหนัง

*** ตั้งแต่ระยะที่ 2 ขึ้นไปเป็นไปได้ 2 กรณี โดยอาจเกิดขึ้นเพียงกรณีเดียว หรือทั้ง 2 กรณีก็ได้


สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหารมีอะไรบ้าง

สาเหตุมะเร็งหลอดอาหาร
ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งหลอดอาหารได้ มีเพียงปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเท่านั้น ที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งชนิดนี้ อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่
  • อายุที่มาก ขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัย 45-70 ปี พบว่ามีความเสี่ยงมากที่สุด
  • เพศชาย พบว่าผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 – 4เท่า
  • เชื้อชาติ พบมากในชาวจีน อิหร่าน ตุรกี แต่ในชาวสหรัฐอเมริกาจะพบได้น้อย
  • สูบบุหรี่ ความเสี่ยงจะแปรผันตรงกับระยะเวลาและปริมาณที่สูบ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การบริโภคเครื่องดื่มประเภทนี้เป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร ชนิด squamous cell carcinoma
  • ผู้ที่มีประวัติกรดไหลย้อน การระคายเคืองของหลอดอาหารเนื่องจากกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาทำลายเซลล์บุผนังหลอดอาหาร จนเป็นเหตุให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร ชนิด Adenocarcinoma ได้
  • อาหาร ภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เป็นเวลานานๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคได้ นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนไปด้วยสารก่อมะเร็งไนโตรซามีน ก็เพิ่มความเสี่ยงได้เช่นเดียวกัน
  • ภาวะน้ำหนักเกินโรคอ้วน ผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และหรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง จะมีโอกาสมากกว่าที่จะเป็นมะเร็งหลอดอาหาร
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในรายบุคคล ไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การที่หลอดอาหารติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด


มะเร็งหลอดอาหารมีอาการอย่างไร

มะเร็งหลอดอาหาร อาการ

ในระยะเริ่มแรกของมะเร็งมักจะไม่แสดงอาการใดๆ มะเร็งหลอดอาการก็ไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องนี้ ตราบจนเซลล์มะเร็งได้เจริญและแพร่กระจายไปมากขึ้น อาการต่างๆจึงจะเริ่มแสดงออกมา ได้แก่


  • มีความลำบากในการกลืนอาหารเมื่อกลืนอาหารจะรู้สึกเจ็บ กลืนไม่สะดวก ตั้งแต่บริเวณลำคอไปจนถึงที่ลิ้นปี่ โดยทั่วไปจะเริ่มด้วยการกลืนอาหารแข็งๆลำบาก ต่อมาจึงเริ่มมีปัญหาในการกลืนอาหารอ่อน และสุดท้ายแม้กระทั่งน้ำหรือน้ำลายตัวเองก็กลืนไม่ได้ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความรุนแรงของมะเร็ง
  • มีอาการสำลัก ในขณะหรือหลังจากกลืนอาหาร หรืออาการไอขณะรับประทานอาหาร
  • อาการแน่น แสบร้อนที่บริเวณช่องอกเจ็บบริเวณลำคอหรือบริเวณกระดูกหน้าอก
  • อาหารไม่ย่อย ท้องอืด คลื่นไส้
  • น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ และหาสาเหตุไม่ได้
  • อาเจียนออกมาเป็นเลือด หรือมีเลือดปนออกมากับน้ำลาย เสมหะ
  • เสียงเปลี่ยนโดยแหบลงจากเดิม
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอโตขึ้น จนสามารถคลำได้
  • อุจจาระมีสีดำ

การรักษามะเร็งหลอดอาหาร

วิธีรักษามะเร็งหลอดอาหาร
โรคมะเร็งหลอดอาหารสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด รังสีรักษา และการทำเคมีบำบัด โดยวิธีการรักษาจะ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ความแข็งแรง และอายุของผู้ป่วย รวมถึงตำแหน่งและระยะของมะเร็งด้วย ซึ่งแพทย์อาจเลือกใช้วิธีใด วิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้การรักษาแบบผสมผสานก็ได้
1.การผ่าตัด

การผ่าตัดมักจะเป็นทางเลือกในผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มต้น โดยทั่วไปศัลยแพทย์จะตัดเอาหลอดอาหารในส่วนที่เป็นมะเร็ง เนื้อเยื่อปกติโดยรอบ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก และในผู้ป่วยบางรายอาจมีการผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออกด้วย

ในกรณีที่กระเพาะอาหารเพียงบางส่วนถูกตัดไป ศัลยแพทย์มักจะทำการเปลี่ยนรูปร่างของกระเพาะที่คงเหลือให้เป็นลักษณะของท่อ จากนั้นก็นำไปต่อเข้ากับหลอดอาหารส่วนที่เหลือ หรือในบางกรณีอาจใช้ชิ้นส่วนของลำไส้(ได้ทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่) เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างกระเพาะกับส่วนที่เหลือของหลอดอาหารก็ได้ แต่ในอีกกรณีคือกระเพาะอาหารโดนตัดไปทั้งหมด ศัลยแพทย์จะใช้ชิ้นส่วนของลำไส้ในการเชื่อมต่อกับส่วนที่เหลือของหลอดอาหาร

เพื่อป้องกันการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ระหว่างการผ่าตัด แพทย์อาจต่อ feeding tube (สายให้อาหาร) ไปยังลำไส้เล็ก

2.การฉายรังสี

รังสีรักษา เป็นวิธีที่ใช้ได้กับผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารในทุกๆ ระยะ อาจทำก่อน หลัง หรือแทนที่การผ่าตัดก็ได้ โดยทั่วไปการฉายรังสีมักทำร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งมีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ช่วยลดขนาดของเนื้องอกทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารได้สะดวกมากขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวดจากมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังกระดูก หรือเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ

การฉายรังสีอาจมีผลข้างเคียง ขึ้นกับชนิดของกัมมันตภาพรังสีที่ใช้ในการรักษา ปริมาณของรังสีที่ได้รับ และอวัยวะส่วนที่ได้รับรังสี นอกจากนี้สภาพร่างกายของตัวผู้ป่วยเองก็มีส่วนด้วยเช่นกัน

โดยสามารถทำได้ 2 วิธี ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาเพียงแบบเดียว หรือสองแบบเลยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
  • การฉายรังสีจากภายนอก(external radiation therapy)

โดยใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ยิงรังสีมาจากภายนอก เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไม่ก่อให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บใด ๆ โดยทั่วไปการรักษาแต่ละครั้งจะไม่เกิน 20 นาที เป็นเวลา 5 วันในหนึ่งสัปดาห์ และทำต่อเนื่องกันไปในหลายๆ สัปดาห์
  • การฝั่งแร่กัมมันตรังสี (brachytherapy)

ก่อนจะเริ่มการรักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์จะทำการพ่นสเปรย์ที่คอของผู้ป่วยเพื่อให้รู้สึกชา และให้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย หลังจากนั้นจึงใส่เข้าท่อไปในหลอดอาหาร เป็นท่อที่มีรังสีซึ่งสามารถรักษาโรคมะเร็งแผ่ออกมา และแพทย์จะทำการเอาท่อนี้ออกจากหลอดอาหารหลังจากการรักษาเสร็จสิ้นโดยที่จะไม่มีรังสีอันตรายใดๆ ตกค้างภายในร่างกาย
3.การให้เคมีบำบัด

ผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดโดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ซึ่งเป็นการใช้ยาเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยอาจจะมีการฉายรังสีร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

การรักษาด้วยเคมีบำบัดมักทำกันในคลินิก หรือห้องทำงานของแพทย์ โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้มักไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนอนโรงพยาบาล


ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งหลอดอาหาร

ยาเคมีที่ได้นิยมใช้ในการรักษามะเร็งหลอดอาหาร มีดังนี้
  • Epirubicin (E)
  • Fluorouracil หรือ 5FU (F)
  • CapecitabineหรือXeloda (X)
  • Cisplatin (C)
  • Oxaliplatin (O)
  • Paclitaxel (Taxol)

โดยทั่วไปจะมีการใช้ร่วมกันระหว่างยา 2 –3 ชนิด ซึ่งการรวมกันของยาแต่ละชนิด สามารถทราบได้ด้วยตัวอักษรนำหน้าชื่อ เช่นECF มาจาก epirubicincisplatinและ fluorouracil เป็นต้น


สมุนไพรที่ใช้รักษามะเร็งหลอดอาหาร
  • ผักคาวตองหรือพลูคาว

มีผลการวิจัยทางฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ดังนี้
  1. มีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งบางชนิดได้
  2. มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  3. ในประเทศจีนมีการใช้สมุนไพรชนิดนี้เพื่อรักษามะเร็งหลายชนิด เช่นมะเร็งทางเดินอาหารมะเร็งทางเดินหายใจมะเร็งสมอง มะเร็งลำไส้ใหญ่รวมถึงเนื้องอกในรังไข่อีกด้วย