วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

มะเร็งผิวหนัง (Skin cancer)คืออะไร


เมื่อพูดถึงอวัยวะส่วนที่เป็นเสมือนด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกัน คงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอย่างผิวหนังของเรานี่เอง เพราะนอกจากจะมีหน้าที่ในการห่อหุ้มส่วนต่างๆของร่างกายแล้ว ผิวหนังยังมีหน้าที่ในการป้องกันความร้อน แสงแดด การบาดเจ็บและการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังช่วยคงความสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย รวมทั้งเก็บสารบางอย่าง เช่น น้ำ ไขมัน และวิตามินดี อีกด้วย

มะเร็งผิวหนังเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนักในคนไทย ซึ่งจากการจัดอันดับมะเร็งชนิดนี้ก็ไม่ได้อยู่ใน 10 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยทั่วไปมะเร็งผิวหนังจะพบมากในคนผิวขาว เป็นโรคของผู้ใหญ่ซึ่งอัตราการเกิดโรคจะสูงขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้จะไม่แตกต่างกันมากนักระหว่างสองเพศ

มะเร็งผิวหนัง


มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยคือคาร์ซิโนมา(Carcinoma) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1.มะเร็งผิวหนังชนิดที่ไม่ใช่เมลาโนมา (Non melanoma skin cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดที่เนื้อเยื่อบุผิวของผิวหนัง ซึ่งที่พบได้บ่อยมี 2 ชนิด คือ
  • เบซาลเซลล์ คาร์ซิโนมา (Basal cell Carcinoma หรือ BCC)

เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบในช่วงอายุมากกว่า 40-50 ปี โดยมีอุบัติการณ์การเกิดโรคในเพศชายสูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามถือเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่ไม่มีความรุนแรง อาจมีการแพร่กระจายเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง แต่มักไม่มีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นมะเร็งผิวหนังชนิดนี้จึงไม่ใช้ต้นเหตุของการเสียชีวิต
  • สะความัสเซลล์ คาร์ซิโนมา (Squamous cell carcino ma หรือ SCC)

เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากชนิดเบซาลเซลล์ พบได้เท่า ๆกันในทั้งสองเพศของคนในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นชนิดที่มีความรุนแรงปานกลาง สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทั้งต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดได้ และเมื่อมีการแพร่กระจายมักจะรุกล้ำเข้าสู่ปอด

2.มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma หรือ Malignant melanoma)

เป็นมะเร็งชนิดที่เกิดกับเมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนัง พบได้ทั้งในเด็กโต แต่จะพบมากขึ้นในผู้ที่มีอายุสูงขึ้น และพบสูงสุดในช่วงวัย45-65 ปี ซึ่งอุบัติการณ์ในเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิงไม่มากนัก เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่มีความรุนแรงมาก โอกาสรุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดสูงกว่า และหากมีการแพร่กระจายมักจะไปที่ สมอง ปอด และกระดูก

การแบ่งระยะของมะเร็งผิวหนังจะแบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็งด้วย ดังนี้

อาการของมะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังชนิดที่ไม่ใช่เมลาโนมา
  • ระยะที่ 1 ก้อนเนื้อมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมีขนาดเกิน 2 เซนติเมตร หรือ เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายลงลึกใต้ผิวหนัง หรือมีอัตราการแบ่งตัวสูง
  • ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมีการแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่ออื่น ๆที่อยู่ติดผิวหนัง หรือ มีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองเพียงต่อมเดียว และต่อมนั้นมีขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 4 ก้อนเนื้อมีการแพร่กระจายเข้ากระดูก เส้นประสาท หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 1 ต่อม หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองเพียงต่อมเดียว แต่ต่อมมีขนาดใหญ่กว่า 3 เซนติเมตร หรือ

มีการแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด โดยมักเข้าสู่ปอดเป็นลำดับถัดมา
  • ระยะโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา
ระยะที่ 1 ก้อนเนื้อมีขนาดไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 ก้อนหรือแผลมะเร็งขนาดโตมากกว่า 2 มิลลิเมตร
ระยะที่ 3 มีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่ 4 มะเร็งมีการแพร่เข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งมักจะเข้าสู่ ปอด กระดูกและสมอง ต่อไป


สาเหตุของมะเร็งผิวหนังมีอะไรบ้าง
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งผิวหนังนั้น ยังคงคลุมเครือ ไม่เป็นที่แน่ชัดในปัจจุบัน แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่อาจทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ ดังนี้
  • การตากแดดจัดๆ เป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการป้องกัน
  • การมีแผลเรื้อรังจากสารเคมี
  • การผิวหนังมีการสัมผัสโดนสารพิษ
  • การที่ผิวหนังมีการสัมผัสกับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิด ไอออนไนซ์
  • ผู้ที่เป็นโรคบางอย่างที่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์
  • การกลายพันธุ์ของไฝ
  • ผู้ที่เป็นโรค Xeroderma pigmentosum จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้ง่าย เนื่องจากเซลล์ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดดมากผิดปกติ

มะเร็งผิวหนังมีอาการอย่างไร

อาการของมะเร็งผิวหนังจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรค ดังนี้
  • ผื่นแอคตินิค เคราโตซิลเป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นขุย ๆ บริเวณที่พบบ่อยคือ ที่หน้า ลำตัว แขน หลังมือ และบริเวณอื่นๆที่ได้รับแสงแดดมากๆ หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะกลายเป็ฯมะเร็งผิวหนังได้
  • เบซาลเซลล์ คาร์ซิโนมา ( Basal Cell Carcinoma) มักเกิดการทำลายผิวหนังในชั้นตื้นๆ โดยทั่วไปจึงไม่มีความร้ายแรงมากนัก แต่หากเป็นใกล้กับอวัยวะที่สำคัญ เช่น ตา หู จมูก ปาก ก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะนั้นได้ โดยลักษณะทั่วไปของมะเร็งชนิดนี้มีได้หลายรูปแบบ ดังนี้
  • ลักษณะเป็นก้อนนูนๆ มีสีเดียวกับผิวหนังรอบๆ หรือมีสีชมพูใส มีขอบ และอาจเกิดเลือดออกได้
  • ลักษณะคล้ายกับสิว มักมีเลือดออก และจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง คือเป็นๆ หายๆ
  • ลักษณะของก้อนเนื้อแบนๆ แข็งๆ ติดกับผิวหนัง
  • ลักษณะของก้อนขุย มีเลือดออก และมีสะเก็ดสีดำ ข้อสังเกตของมะเร็งชนิดนี้คือ อาการระคายเคืองบริเวณก้อนที่เกิดขึ้น มีแผลเรื้อรัง ที่มีเลือดออก และมีลักษณะของการเป็นๆ หายๆ
  • สะแควมัสเซลล์ คาร์ซิโนมา ( Squamous Cell Carcinoma = SCC ) มะเร็งชนิดนี้มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับมะเร็งชนิดเบซาลเซลล์ คาร์ซิโนมา แต่มักมีการลุกลามที่เร็วกว่า และมักจะลงลึกเข้าสู่ด้านล่างของเซลล์ผิวหนัง ซึ่งหากคลำดูมักพบลักษณะเป็นก้อนแข็งๆ ในบริเวณด้านล่างของผิวหนัง
  • ชนิดเมลาโนมา ภายนอกดูคล้ายกับไฝที่มีสีดำ แต่มีความร้ายแรงมาก เพราะสามารถแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะภายในได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในสุด


การรักษามะเร็งผิวหนัง

วิธีรักษามะเร็งผิวหนัง

วิธีการหลักๆ ในการรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง มีดังนี้
1.การผ่าตัด
  • Mohs microsurgery เป็นการฝานก้อนออกเป็นแผ่นบางๆ ทีละน้อย ไปเรื่อยๆจนกว่าการตรวจสอบทางกล้องจุลทรรศน์จะไม่พบเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ โดยปกติจะใช้วิธีนี้กับก้อนในบริเวณหน้า เนื่องจากเป็นวิธีที่มีการผ่าเอาเนื้อเยื่อปกติออกไปน้อยที่สุด
  • Simple excision การผ่าแบบปกติ
  • Shave excision เป็นการใช้มีดโกนผ่าชิ้นเนื้อออกเป็นชั้นบางๆ
  • Electrodesiccation and curettage เป็นการขูดโดยใช้การจี้ไฟฟ้า ร่วมกับเครื่องมือขูด
  • Cryosurgery เป็นการจี้เอาชิ้นเนื้อออกโดยใช้ความเย็นสูง
  • Laser surgery เป็นการใช้เลเซอร์เป็นตัวตัดเอาชิ้นเนื้อออก
  • Dermabrasion เป็นการเอาผิวหนังชั้นนอกออกโดยใช้ล้อหมุน
2.รังสีรักษา เป็นการใช้รังสี x-ray ที่มีพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง มีทั้งการฉายรังสีจากภายนอก หรือการใช้เม็ดแร่เข้าไปฝังในตัวผู้ป่วย โดนทั่วไปการฉายรังสีเป็นวิธีที่ให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ และผลการรักษายังไม่ส่งผลต่อรูปลักษณ์หรือความสวยงามของผู้ป่วยอีกด้วย

3.เคมีบำบัด เป็นการรักษาโดยการฉีดยาเคมีเข้าไปทางหลอดเลือดดำ ส่งผลให้ยาสามารถออกฤทธิ์ได้ทั่วทั้งร่างกาย หรืออาจให้โดยวิธีการอื่น เพื่อจำกัดบริเวณให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ เช่นให้ในกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ยาเคมีอาจมาในลักษณะของยาทา หากใช้ในมะเร็งผิวหนังชนิดที่ไม่ใช่เมลาโนมา
4.Photodynamic therapy เป็นวิธีการทำให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ ทำได้โดยการใช้แสงเลเซอร์ ร่วมกับการฉีดยาเคมีเข้าเส้นเลือดดำ


ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งผิวหนัง

ยาที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the Food and Drug Administration หรือ FDA) ให้ใช้รักษาโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ คาร์ซิโนมา มีดังนี้
  • Adrucil (Fluorouracil)
  • Aldara (Imiquimod)
  • Efudex (Fluorouracil)
  • Erivedge (Vismodegib)
  • Fluoroplex (Fluorouracil)
  • Fluorouracil
  • Imiquimod
  • Odomzo (Sonidegib)
  • Sonidegib
  • Vismodegib

ยาที่ได้รับการยอมรับโดย FDA ให้ใช้รักษาโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา มีดังนี้
  • Aldesleukin
  • Dabrafenib
  • Dacarbazine
  • DTIC-Dome (Dacarbazine)
  • Intron A (Recombinant Interferon Alfa-2b)
  • Ipilimumab
  • Keytruda (Pembrolizumab)
  • Mekinist (Trametinib)
  • Nivolumab
  • Opdivo (Nivolumab)
  • Peginterferon Alfa-2b
  • Pembrolizumab
  • Proleukin (Aldesleukin)
  • Recombinant Interferon Alfa-2b
  • Sylatron (Peginterferon Alfa-2b)
  • Tafinlar (Dabrafenib)
  • Trametinib
  • Vemurafenib
  • Yervoy (Ipilimumab)
  • Zelboraf (Vemurafenib)
สมุนไพรที่ใช้รักษามะเร็งผิวหนัง
  • ขมิ้น มีผลการศึกษาโดยนักวิจัยชาวอินเดีย ระบุว่า การใช้ขมิ้นในการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังนั้น สามารถช่วยลดกลิ่นได้ถึงร้อยละ 90
  • น้ำมันมะกอก จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ระบุไว้ว่าการทาน้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์หลังจากออกแดด จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ด้วยตัวของน้ำมันมะกอกที่มีวิตามิน C และ E สูง ส่งผลให้มีสรรพคุณในการต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสียหายที่เกิดกับเซลล์ และชะลอการเกิดเนื้องอกได้