วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรคฝีดาษ (Smallpox) คืออะไร


เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว หากใครได้เคยชมภาพยนตร์ประวัติศาสตร์เรื่องดังแห่งยุคนั้น “สุริโยไท” คงจะมีภาพติดตาในฉากที่ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูล) ทรงพระประชวรอย่างหนักด้วยอาการที่น่ารังเกียจต่อผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก คือ มีตุ่มฝีหนองไปทั่วลำตัว เนื่องจากไม่มียารักษา พระองค์จึงได้สวรรคตในที่สุด โรคที่ว่านี้ก็คือ ฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษนั่นเอง

ฝีดาษ

ฝีดาษเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อกันได้ง่าย และไม่มียารักษา ถึงแม้ว่าโรคนี้จะเคยเป็นหนึ่งในมหันตภัยร้ายในอดีตของมวลมนุษยชาติ มีผู้คนประมาณ 300 ล้านคนต้องเสียชีวิตไปในช่วงศตวรรษที่ 20 ก็ตาม แต่ในปัจจุบัน เราไม่สามารถพบเจอโรคนี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากได้ถูกกำจัดให้หมดไปแล้วโดยการใช้วัคซีน ซึ่งจากรายงานการพบผู้ป่วยรายสุดท้ายก็หลายสิบปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 มาแล้ว ดังนั้นวัคซีนเลยมีไม่ความจำเป็นอีกต่อไป จึงได้ถูกยกเลิกการฉีดในประชาชนทั่วไปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2523 ได้มีการประกาศการสูญสิ้นของโรคฝีดาษอย่างเป็นทางการ

สาเหตุของโรคฝีดาษมีอะไรบ้าง

โรคฝีดาษเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Orthopoxvirus หรือ Variola virus ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์เดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคหูดข้าวสุกในคน และสายพันธุ์เดียวกับที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น โดยปกติโรคฝีดาษในสัตว์สามารถแพร่มาสู่คนได้ แต่อาการจะไม่รุนแรงและเป็นเฉพาะที่ ส่วนฝีดาษในคนนั้น สามารถติดต่อสู่คนได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องอาศัยสัตว์เป็นพาหะ ส่งผลให้โรคนี้ถูกกำจัดให้หมดไปในที่สุด

เรารับเชื้อมาได้อย่างไร

การติดเชื้อฝีดาษนั้น เป็นไปได้ง่ายมาก โดยพบว่าเป็นรองแค่สองโรค คือโรคหัดและไข้หวัดใหญ่เท่านั้น การแพร่เชื้อจากคนด้วยกันนั้น มักจะเกิดจากการไปคลุกคลี ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และได้รับเชื้อมาโดยการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนอยู่ในเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วยเข้าไป นอกจากนี้ยังอาจรับเชื้อจากหนองหรือสะเก็ดแผล ที่อยู่ตามเสื้อผ้า หรือที่นอนของผู้ป่วยได้อีกด้วย

หลังจากได้รับเชื้อแล้ว เกิดอะไรขึ้น??

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้สำเร็จ มันก็จะเดินทางไปยังบริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง โดยทะลุผ่านเยื่อเมือกบุของทางเดินหายใจ แล้วเจริญพัฒนา แบ่งตัวต่อไปที่บริเวณนั้น จนในที่สุดต่อมน้ำเหลืองจึงแตกออก ส่งผลให้เชื้อลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ไปยังม้าม ไขสันหลัง รวมถึงต่อมน้ำเหลืองทั่วทั้งร่างกาย เช่นเดิมที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้ เชื้อก็จะแบ่งตัว เจริญเติบโต จนสุดท้ายต่อมน้ำเหลืองก็แตก เชื้อจะกลับเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง และในครั้งนี้เอง เชื้อโรคจะมีการลุกลามไปที่ผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นฝีหนองอันเป็นสัญลักษณ์ของโรคนี้ขึ้นมา

โรคฝีดาษมีอาการอย่างไร

อาการโรคฝีดาษ


หากไม่ได้แบ่งโรคฝีดาษแยกย่อยเป็นชนิดต่างๆ อาการของโรคนี้ คือ ไข้สูง หนาวสั่นสะท้าน ปวดศีรษะ หลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน มักจะเริ่มมีผื่นขึ้นมาบริเวณใบหน้า ตามลำตัวและข้อมือ ซึ่งอาการไข้และความเจ็บปวดในระยะที่มีฝีนั้นจะลดลงเล็กน้อยเพียงชั่วคราวเท่านั้น จากนั้นไข้ก็กลับมาสูงอีกครั้ง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะและบั้นเอวอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง สับสน มึนงง และในบางรายอาจจะปวดท้องหรือท้องผูกร่วมด้วย สำหรับผื่นที่เกิดขึ้นนั้น จะมีลักษณะเป็นตุ่มโปน มีน้ำเหลืองขังจนกลายเป็นหนอง ยอดตุ่มมีหัวสีดำ เมื่อเม็ดหนองแตกจะมีแผลเป็นสะเก็ด และในบางรายอาจมีผื่นที่เป็นแบบจ้ำเลือด


โดยทั่วไปโรคฝีดาษจะแสดงอาการภายใน ประมาณ 7-17 วัน หลังจากระยะฟักตัวของโรค ทั้งนี้เราสามารถแบ่งอาการของโรคฝีดาษตามความรุนแรงได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
กลุ่มที่มีอาการรุนแรง (Variola major)


ในกลุ่มนี้สามารถแบ่งย่อยๆ ได้อีกเป็น 4 ชนิด
โรคฝีดาษทั่วไป (Ordinary smallpox) : โดยทั่วไปมี 2 ระยะ คือ ระยะก่อนผื่น และ ระยะผื่นขึ้น โดยทั่วไประยะก่อนผื่นจะกินระยะเวลาประมาณ 2-4 วัน โดยมีอาการคือ ไข้สูง (38.3 – 40 ºC) ปวดเมื่อยบริเวณหลัง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

ส่วนในระยะผื่นขึ้น จะเริ่มเมื่อมีการพบจุดสีแดงขึ้นตามเยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินหายใจ และลิ้น ซึ่งจุดเหล่านี้สามารถแตกออก ถือเป็นการกระจายเชื้อออกมาภายในช่องปากและลำคอ ถือเป็นระยะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นมากที่สุด โดยเชื้อสามารถแพร่ไปได้ทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ส่วนผื่นนั้นจะเริ่มขึ้นในภายหลัง ซึ่งมักจะเริ่มที่ใบหน้าก่อน แล้วจึงกระจายไปส่วนอื่นๆ จนทั่วลำตัวภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นจะกระจายอย่างหนาแน่นในบริเวณอื่นๆ มากกว่าที่ลำตัว และเมื่อมีผื่นขึ้น ไข้จะลดลง สำหรับลักษณะของผื่น เมื่อเริ่มต้นจะแบนราบ ต่อมาจึงค่อยๆ นูนขึ้นเป็นตุ่มกลมๆ มีรายบุ๋มตรงกลาง และจะกลายเป็นตุ่มหนองที่แข็งในภายหลัง ซึ่งในช่วงนี้ผื่นจะมีเชื้ออยู่ คนไข้จึงสามารถแพร่เชื้อได้ แต่หลังจากผื่นขึ้นได้ 2 สัปดาห์ แผลจะตกสะเก็ด จนค่อยๆลอกร่อนไป กลายเป็นแผลลักษณะบุ๋ม และมีสีจางกว่าผิวหนังปกติ ผู้ป่วยจะไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีกต่อไป 

โรคฝีดาษชนิดมีเลือดออก (Hemorrhagic smallpox / Black pox) เป็นชนิดที่มีความรุนแรงมาก สามารถพบได้เพียงร้อยละ 2 ของผู้ป่วยฝีดาษเท่านั้น โดยทั่วไปเกินกว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 5-7 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการ ซึ่งอาการสำคัญจะเกิดในภายหลังจากที่มีผื่นราบปรากฏขึ้น โดยผู้ป่วยจะมีเลือดออกที่บริเวณใต้ผิวหนัง ใต้เยื่อบุตา ใต้เยื่อบุลำไส้ และยังมีจุดเลือดออกที่ม้าม ไต และกล้ามเนื้อลายอีกด้วย 
 
ฝีดาษชนิดที่ผื่นไม่นูน (Malignant smallpox) เป็นชนิดที่พบได้ไม่มาก แค่เพียงร้อยละ 6 ของผู้ป่วยฝีดาษ โดยพบบ่อยในเด็ก และถือเป็นฝีดาษอีกชนิดที่มีรุนแรง ซึ่งถ้าเป็นฝีดาษชนิดนี้โอกาสรอดชีวิตแทบจะเป็นศูนย์ อาการสำคัญ คือ ไข้ที่สูงมากในระยะก่อนผื่น ผื่นที่ขึ้นค่อนข้างช้ากว่าชนิดอื่นๆ และมีข้อสังเกตง่ายๆ คือผื่นจะไม่นูนกลม แต่จะมีลักษณะแบนเรียบ มีน้ำหนองภายในแต่ไม่มาก และผื่นจะไม่แข็งเหมือนในฝีดาษทั่วไป 

โรคฝีดาษชนิดดัดแปลง (Modified smallpox) เป็นโรคฝีดาษที่ค่อนข้างพิเศษ คือ จะเกิดกับผู้มี่เคยได้ฉีดวัคซีนมาก่อนแล้ว อาการโดยทั่วไปจะไม่รุนแรง โดยในระยะก่อนผื่นจะเป็นเพียงเล็กน้อย และถึงแม้ว่าจะมีผื่นปรากฏรวดเร็วกว่าในโรคฝีดาษทั่วไป แต่ปริมาณของผื่นนั้นจะน้อยกว่ามาก




กลุ่มที่มีอาการน้อยกว่า (Variola minor)
อาการของผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะคล้ายโรคฝีดาษทั่วไป (Ordinary smallpox) ต่างกันที่ความรุนแรงที่น้อยกว่ามากๆก็เท่านั้น



การรักษาโรคฝีดาษ
การรักษาโรคฝีดาษหากไม่ได้แบ่งโรคฝีดาษแยกย่อยเป็นชนิดต่างๆ อาการของโรคนี้ คือ ไข้สูง หนาวสั่นสะท้าน ปวดศีรษะ หลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน มักจะเริ่มมีผื่นขึ้นมาบริเวณใบหน้า ตามลำตัวและข้อมือ ซึ่งอาการไข้และความเจ็บปวดในระยะที่มีฝีนั้นจะลดลงเล็กน้อยเพียงชั่วคราวเท่านั้น จากนั้นไข้ก็กลับมาสูงอีกครั้ง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะและบั้นเอวอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง สับสน มึนงง และในบางรายอาจจะปวดท้องหรือท้องผูกร่วมด้วย สำหรับผื่นที่เกิดขึ้นนั้น จะมีลักษณะเป็นตุ่มโปน มีน้ำเหลืองขังจนกลายเป็นหนอง ยอดตุ่มมีหัวสีดำ เมื่อเม็ดหนองแตกจะมีแผลเป็นสะเก็ด และในบางรายอาจมีผื่นที่เป็นแบบจ้ำเลือด


โดยทั่วไปโรคฝีดาษจะแสดงอาการภายใน ประมาณ 7-17 วัน หลังจากระยะฟักตัวของโรค ทั้งนี้เราสามารถแบ่งอาการของโรคฝีดาษตามความรุนแรงได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1.กลุ่มที่มีอาการรุนแรง (Variola major)
ในกลุ่มนี้สามารถแบ่งย่อยๆ ได้อีกเป็น 4 ชนิด

โรคฝีดาษทั่วไป (Ordinary smallpox) : โดยทั่วไปมี 2 ระยะ คือ ระยะก่อนผื่น และ ระยะผื่นขึ้น
โดยทั่วไประยะก่อนผื่นจะกินระยะเวลาประมาณ 2-4 วัน โดยมีอาการคือ ไข้สูง (38.3 – 40 ºC) ปวดเมื่อยบริเวณหลัง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

ส่วนในระยะผื่นขึ้น จะเริ่มเมื่อมีการพบจุดสีแดงขึ้นตามเยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินหายใจ และลิ้น ซึ่งจุดเหล่านี้สามารถแตกออก ถือเป็นการกระจายเชื้อออกมาภายในช่องปากและลำคอ ถือเป็นระยะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นมากที่สุด โดยเชื้อสามารถแพร่ไปได้ทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ส่วนผื่นนั้นจะเริ่มขึ้นในภายหลัง ซึ่งมักจะเริ่มที่ใบหน้าก่อน แล้วจึงกระจายไปส่วนอื่นๆ จนทั่วลำตัวภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นจะกระจายอย่างหนาแน่นในบริเวณอื่นๆ มากกว่าที่ลำตัว และเมื่อมีผื่นขึ้น ไข้จะลดลง สำหรับลักษณะของผื่น เมื่อเริ่มต้นจะแบนราบ ต่อมาจึงค่อยๆ นูนขึ้นเป็นตุ่มกลมๆ มีรายบุ๋มตรงกลาง และจะกลายเป็นตุ่มหนองที่แข็งในภายหลัง ซึ่งในช่วงนี้ผื่นจะมีเชื้ออยู่ คนไข้จึงสามารถแพร่เชื้อได้ แต่หลังจากผื่นขึ้นได้ 2 สัปดาห์ แผลจะตกสะเก็ด จนค่อยๆลอกร่อนไป กลายเป็นแผลลักษณะบุ๋ม และมีสีจางกว่าผิวหนังปกติ ผู้ป่วยจะไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีกต่อไป 

โรคฝีดาษชนิดมีเลือดออก (Hemorrhagic smallpox / Black pox)
เป็นชนิดที่มีความรุนแรงมาก สามารถพบได้เพียงร้อยละ 2 ของผู้ป่วยฝีดาษเท่านั้น โดยทั่วไปเกินกว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 5-7 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการ ซึ่งอาการสำคัญจะเกิดในภายหลังจากที่มีผื่นราบปรากฏขึ้น โดยผู้ป่วยจะมีเลือดออกที่บริเวณใต้ผิวหนัง ใต้เยื่อบุตา ใต้เยื่อบุลำไส้ และยังมีจุดเลือดออกที่ม้าม ไต และกล้ามเนื้อลายอีกด้วย 

ฝีดาษชนิดที่ผื่นไม่นูน (Malignant smallpox)
เป็นชนิดที่พบได้ไม่มาก แค่เพียงร้อยละ 6 ของผู้ป่วยฝีดาษ โดยพบบ่อยในเด็ก และถือเป็นฝีดาษอีกชนิดที่มีรุนแรง ซึ่งถ้าเป็นฝีดาษชนิดนี้โอกาสรอดชีวิตแทบจะเป็นศูนย์ อาการสำคัญ คือ ไข้ที่สูงมากในระยะก่อนผื่น ผื่นที่ขึ้นค่อนข้างช้ากว่าชนิดอื่นๆ และมีข้อสังเกตง่ายๆ คือผื่นจะไม่นูนกลม แต่จะมีลักษณะแบนเรียบ มีน้ำหนองภายในแต่ไม่มาก และผื่นจะไม่แข็งเหมือนในฝีดาษทั่วไป
 
โรคฝีดาษชนิดดัดแปลง (Modified smallpox)
เป็นโรคฝีดาษที่ค่อนข้างพิเศษ คือ จะเกิดกับผู้มี่เคยได้ฉีดวัคซีนมาก่อนแล้ว อาการโดยทั่วไปจะไม่รุนแรง โดยในระยะก่อนผื่นจะเป็นเพียงเล็กน้อย และถึงแม้ว่าจะมีผื่นปรากฏรวดเร็วกว่าในโรคฝีดาษทั่วไป แต่ปริมาณของผื่นนั้นจะน้อยกว่ามาก

2.กลุ่มที่มีอาการน้อยกว่า (Variola minor)
อาการของผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะคล้ายโรคฝีดาษทั่วไป (Ordinary smallpox) ต่างกันที่ความรุนแรงที่น้อยกว่ามากๆก็เท่านั้น


การรักษาโรคฝีดาษ

การรักษาโรคฝีดาษ

การรักษาโรคฝีดาษ
เนื่องจากในปัจจุบันไม่มียารักษาที่จำเพาะต่อโรค ดังนั้นแพทย์จึงทำได้เพียงแค่การรักษาตามอาการเท่านั้น คือผู้ป่วยมีอาการอย่างไร ก็ให้ยาที่ใช้แก้อาการนั้น เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้คัน เป็นต้น

นอกจากกระบวนการรักษาแล้ว การดูแลเรื่องการเป็นอยู่ สุขลักษณะของผู้ป่วยก็สำคัญเช่นเดียวกัน เช่น การจัดให้นอนในที่สะอาด การทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค การเช็ดตัวด้วยด่างทับทิม เป็นต้น

 
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคฝีดาษ
ในปัจจุบันยังไม่มียาสำหรับรักษาโรคฝีดาษ แม้ว่าจะมีการวิจัยที่ระบุว่ายา Cidofovir สามารถฆ่าเชื้อฝีดาษให้ตายได้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับขององค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มีการใช้ในคน ดังนั้นจึงทำได้แค่รักษาแบบประคับประคอง ตามอาการเพียง ทั้งนี้ยังมียาอีกหลายตัวที่กำลังอยู่ในขั้นศึกษาทดลอง


สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคฝีดาษ

เสลดพังพอนตัวผู้ (ซองระอา)
ส่วนใบของสมุนไพรชนิดนี้ ว่ากันว่ามีสรรพคุณมากมาย เช่น ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้โรคเบาหวาน แก้ปวดแผล แก้โรคฝีต่างๆ ถอนพิษไข้ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคเริม งูสวัด และยังสามารถถอนพิษที่เกิดจากผื่นของโรคฝีดาษได้อีกด้วย