วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เครื่องสำอางที่คุณใช้มีสารอันตรายหรือไม่!


ทุกวันนี้ที่ธุรกิจเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกำลังเฟื่องฟู จึงทำให้มีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกมาวางขายเกลื่อนกลาด มีทั้งมี อ.ย. และเป็นครีมเถื่อน ถึงแม้จะมีฉลากที่สวยงามน่าเชื่อถือ แต่ก็มีบางส่วนที่ปิดบังส่วนผสมที่แท้จริงที่ใส่ในผลิตภัณฑ์ ถ้าเช่นนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ใดจึงปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว? หากเราลองใช้เวลาสักนิดศึกษาและทำความเข้าใจในส่วนผสมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์และวิธีทดสอบด้วยตนเองเบื้อต้น อาจทำให้หลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีในเครื่องสำอางที่อาจทำร้ายตัวคุณเองและคนที่บ้านได้

สารอันตรายที่ก่อความระคายเคืองและเป็นพิษมีหลายประเภท และส่งผลเสียต่อร่างกายต่างๆกัน เรามาทำความรู้จักสารเหล่านี้กันสักนิดดีกว่า

ปรอท

1. ปรอท
เป็นโลหะหนักที่เป็นสารผิดกฎหมายในเครื่องสำอาง ผู้ผลิตมักใส่สารปรอทในผลิตภัณฑ์ประเภทครีมบำรุงผิว เพื่อทำให้ผิวขาว รักษา ฝ้า กระ จุดด่างดำ เนื่องจากปรอทมีความสามารถในการยับยั้งการผลิตเม็ดสีผิว (Melanin) และยังสามารถรักษาสิวได้อีกด้วยเนื่องจากความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ปรอทเป็นสารที่เมื่อใช้แล้วสามารถเห็นผลได้ในระยะสั้น แต่พอใช้ในระยะยาวแล้วจะมีผลเสียตามมาได้อีกมากมาย เริ่มจาก ผิวบางลง เป็นผื่นคัน อักเสบ แดง เกิดอาการแพ้ และในระยะยาว มีผลต่อระบบประสาท ทำลายไต และระบบทางเดินหายใจ มีผลให้ทารกในครรภ์พิการได้

วิธีการทดสอบว่าในครีมมีปรอทหรือไม่ง่ายๆ คือการนำครีมมาถูกับทองคำ ทิ้งไว้ 5-10นาที ถ้าครีมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่ามีส่วนผสมของปรอทอยู่

hydroquinone ไฮโดรควิโนน
2. ไฮโดรควิโนน
สารอันตรายห้ามใช้ในเครื่องสำอางอีกชนิดที่ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว ใช้อย่างแพร่หลายในอดีต ในผลิตภัณฑ์ประเภทครีมทาผิว ช่วยให้ผิวขาว รักษา ฝ้า กระ ได้อย่างรวดเร็ว แต่หลังจากมีผู้ใช้เริ่มเกิดอาการแพ้เกิดตุ่มน้ำ ผิวหนังอักเสบ จึงได้มีการสั่งห้ามใช้ในเครื่องสำอางอย่างเด็ดขาด หากซึมเข้าสู่กระแสเลือดทางแผล อาจทำให้ เกิดอาการสั่น ลมชัก และอาการแพ้ยาได้

วิธีการทดสอบสารไฮโครควิโนนด้วยตนเองคือ นำผงซักพอกมาผสมน้ำเล็กน้อยให้ได้น้ำผงซักฟอกเข้มข้น นำครีมที่ต้องการทดสอบป้ายลงบนกระดาษทิชชู่ขาว แล้วนำน้ำผงซักฟอกหยดลงบริเวณที่ป้ายครีม รอ5-10นาที ถ้าครีมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแสดงว่ามีส่วนผสมของไฮโดรควิโนน
สเตียรอยด์ steriod
3. สเตียรอยด์
สารสเตียรอยด์เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางอีกชนิดที่เคยทำให้สาวๆมากมายเสียโฉมกันมาแล้ว ถึงแม้ปัจจุบัน ทางองค์การอาหารและยา (อ.ย.)ห้ามใช้ในเครื่องสำอางแล้ว แต่ก็ยังมีการใช้อยู่ตามคลินิกผิวหนัง โดยการแนะนำจากแพทย์ และในครีมเถื่อนต่างๆยังใส่สารสเตียรอยด์เพื่อทำให้ผิวขาว และ รักษาสิว โดยจะเห็นผลดีอย่างชัดเจนและรวดเร็วแต่ถ้าใช้ติดต่อกันนานๆก็มีผลเสียไม่น้อย โดยจะทำให้ผิวบางลงเรื่อย เกิดอาการ แดง อักเสบ เกิดตุ่มหนอง เป็นผดผื่น สิวจากสเตียรอยด์ และเมื่อยิ่งใช้นานๆไป ถ้าสารสเตียรอยด์ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ระบบต่างๆในร่างกายผิดปกติและเกิดอาการผิดปกติเช่น อ้วนบวม ขนขึ้นผิดปกติ มีไขมันสะสมจนเป็นโหนกที่หลัง ความดันสูง และโรคเบาหวานเป็นต้น

วิธีการทดสอบสารสเตียรอยด์เบื้องต้น คือนำครีมที่ต้องกรทดสอบทาลงบนผิวหนังบริเวณที่บอบบางเช่น ข้อพับ หรือต้นแขน แล้วแปะพลาสเตอร์แปะแผลทิ้งไว้ประมาณ6ชม. ถ้าเกิดอาการระคายเคือง หรือเมื่อเปิดพลาสเตอร์ออกมาแล้วสีผิวขาวซีดผิดปกติ อาจสงสัยได้ว่าครีมนั้นมีสารสเตียรอยด์หรือสารอันตรายบางอย่าง ถ้าอยากให้แน่ชัด ควรซื้อชุดทดสอบหาสารสเตียรอยด์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มาลองทดสอบ
ตะกั่วตะกั่ว
4. ตะกั่ว
สารโลหะหนักอีกชนิดที่จัดเป็นสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง ซึ่งมักพบได้ในเครื่องสำอางหลายชนิดโดยเฉพาะในลิปสติก ตะกั่วมักปนเปื้อนมาในกระบวนการผลิต ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ยิ่งถ้าหากกลืนลิปสติกที่ปนเปื้อนสารตะกั่วลงไปเป็นปริมาณมากจะทำให้ระบบต่างๆในร่างกายผิดปกติ โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง ทำให้การรับรู้ การเรียนรู้ และพฤติกรรมผิดปกติ อาจทำให้ปวดท้อง บิดมวน ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด และยังมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์อีกด้วย

วิธีการทดสอบสารตะกั่วในครีมนั้นเช่นเดียวกับการทดสอบสรปรอท คือการนำครีมมาป้ายกับทองคำ ทิ้งไว้ 5-10นาที ถ้าครีมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่ามีส่วนผสมของสารตะกั่วอยู่

พาราเบน
5. พาราเบน
หลายคนคงเคยเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า PARABEN FREE หรือปราศจากสารพาราเบน และอาจว่าสงสัยว่าสารนี้คืออะไร พาราเบนเป็นสารกันเสียที่ใช้ในเครื่องสำอางหลากหลายชนิด เพราะมีราคาถูก และมีความสามารถสูงในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แม้ว่า ทาง อ.ย. ประเทศไทยและประเทศอื่นๆจะยังไม่มีการห้ามใช้ เพียงแต่จำกัดปริมาณที่ใช้ได้ในเครื่องสำอาง แต่มีการพบสารพาราเบนในชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านม จึงทำให้ผู้ผลิตเครื่องสำอางต่างๆพากันเลิกใช้สารกันเสียประเภทนี้ เพื่อความสบายใจของผู้บริโภค ซึ่งเราสามารถตรวจสอบบนฉลากของเครื่องสำอางได้ว่ามีส่วนผสมของพาราเบนหรือไม่ โดยพาราเบนมักมาในรูป methylparaben, ethylparaben, butylparaben, propylparabeและ isopropylparaben

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว คราวต่อไปเมื่อซื้อเครื่องสำอางเราจึงควรตรวจสอบข้อมูลและความน่าเชื่อถือให้ดีก่อนจะตัดสินใจซื้อ ควรตรงดูฉลากว่ามี เลขที่ อ.ย. วันที่ผลิตและหมดอายุ รวมทั้งบัริษัทที่จัดจำหน่ายและสถานที่ผลิตหรือไม่ และเมื่อซื้อมาแล้วก็ควรทดสอบการแพ้เบื้องต้นโดยการทาบนผิวหนังบริเวณที่บอบบาง ทิ้งไว้ข้ามคืน หรือประมาณ8-12ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องสำอางนั้นปลอดภัยและเชื่อถือได้จริงๆ

อาการแพ้เครื่องสำอาง

แพ้เครื่องสำอาง

แพ้เครื่องสำอาง
แพ้เครื่องสำอางสาร ไฮโดรควิโนน